การจัดการองค์ความรู้ด้านการวิจัย 2559

คู่มือการจัดทำบทความวิจัยเพื่อยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ

การจัดการองค์ความรู้ด้านการวิจัย 2560

เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อของบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  1/2560

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 12.00 น.

ณ  มนต์เสน่ห์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดกาญจนบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

  1. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                     ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครมองรอบตัวก่อนว่าสังคมภายนอก สภาพเศรษฐกิจ – ยุทธศาสตร์ เป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณา ทำให้เราต้องเอาความรู้ของเรามาบวกกับสิ่งเหล่านี้ แล้วมาคิดวิธีการในการเขียนหลักวิธีวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัยก็ต้องแม่น ประสบการณ์หลายปีที่สำคัญ คือ เราต้องมีศาสตร์ตอบโจทย์ให้ตรงที่สุดว่าแหล่งทุนต้องการอะไร เน้นที่การตอบโจทย์ให้ได้ในปัจจุบันเราอาจเขียนในสิ่งที่เขียนที่เราอยากเขียนทำให้ไม่ต้องโจทย์ ทำให้เราไม่ให้ทุน เช่น สกว. กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ แล้วเอาศาสตร์สิ่งทอไปบวกกับยุทธศาสตร์อื่นให้ใหม่และทันสมัยขึ้น
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดม

ถ้าอยากถูกหวย ถ้าไม่ซื้อหวย ถ้าอยากได้ทุน ก็ต้องเขียนให้ได้ทุน เวลาจะเขียนงานวิจัยจะต้องเขียนตามยุทธศาสตร์ชาติ เราจะเงินตาม Trend ของชาติ วช. กระทรวงวิทย์ บางครั้งไม่มีตรงกับเรา เราต้องปรับตัวให้เข้ากับยุทธศาสตร์ใดให้ได้ รู้ Trend ยุทธศาสตร์กับดูศักยภาพของเรา เราต้องดูว่าอะไรคือจุดแข็งของเรา ถ้าเรามีจุดอ่อนเราต้องไปจับคู่กับอาจารย์ที่เก่งด้านนั้น

1)      เขียนให้ถูก Format

2)      ปริมาณงานให้เหมาะสมกับทุน ให้เริ่มที่ 100,000 เลย

3)      การออกแบบงานวิจัย ความรับผิดชอบโครงการวิจัย

 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์งานที่ไม่ได้ทุนจะมีปัญหาเรื่อง Material กับ Method จะใช้ Stat อะไร วางแผนการทดลองอย่างไร Trend เป็นอย่างไร เราต้องทำให้ไปทางเดียวกับเขา เขาจะสนใจงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ด้วย ควรมีการรวบรวม เอาคนที่มีประสบการณ์ เพื่อให้แหล่งทุนมั่นใจให้นึกถึงหัวข้อที่จะนำไปการตีพิมพ์ด้วย ควรมีการทำงานวิจัยให้ลึกขึ้น ห้เตรียมเขียนรวบรวมผลงานให้เขียนเรียบเรียงได้ ไม่อยากให้ขอทุนรายได้ เพราะจะทำให้ได้เงินไม่ได้เยอะ
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์ศาสตร์ของคณะคหกรรม ปัญหาต้องนึกว่าตัวเองเชี่ยวชาญด้านไหน ให้เราปรับให้เข้าโดยเฉพาะสายสังคม สามารถเข้าด้วยทุกเรื่อง ต้นทุนตัวอาจารย์มีอะไร ให้ดูแค่ตัวเรา แค่ไหนอย่าไม่ตะเกียกตะกาย ไม่ต้องใช้เงินเยอะๆ ไม่ต้องทำใหญ่ๆ โตๆ รายงานสังคมมีมาก  เช่น ส่อการสอน การเขียนอะไรในการทำวิจัย ต้องคำนึงว่าต้องมีการเผยแพร่ตีพิมพ์กัน
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์

เริ่มหาแหล่งทุน เข้าไปดูหน่วยงานภายนอก Connection  กับเพื่อนมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดูประเทศ และเตรียมตัวไว้ได้ ส่งให้ได้

1)      เลือกหัวเรื่อง

2)      การเขียนบทนำ ความสำคัญจูงใจ ให้ได้ มีความสำคัญจริงๆ เริ่มเขียน เช่น

หอยขม

สิ่งแวดล้อม

ทำไมต้องเป็นซอส

–  ตลาด

–  ปัญหาของซอส เช่น หอยนางรม

–  สิ่งทดแทนที่ศึกษา

วิธีการทดลอง

เขียนเป็นขั้นตอน Flowchart ได้อะไร วิเคราะห์อะไร ให้ตรงประเด็น เช่น วุ้นเส้น (ความเหนียวเท่าวุ้นเส้นเดิม

 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลไปตามวิจัยต่างๆ รศ.กล้าณรงค์ ถ้าอยากเขียนงานวิจัยให้ได้ทุนสำคัญที่บทที่ 1 เขียนความเป็นมา ถ้าให้หนักแน่นจะต้องมีสถิติ การเขียนทำให้เขียนถึงการตระหนักถึงความสำคัญ มี Impact ที่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ถ้าจะทำให้ Proposal ที่ได้น้ำหนักให้เอาตัวเรา ต้องเอาตัวเราให้ไปใช้สถิติที่หรูหรา ว่าเป็นการเข้าถึงชุมชนหรือไม่ สิ่งสำคัญอีกอย่าง เรามีชื่อในโลกไหม เรามีชื่อในระบบสารสนเทศหลากหลาย

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  2/2560

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นหัวข้อ การกำหนดหัวข้องานวิจัย คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครในการกำหนดหัวข้องานวิจัยนั้นนักวิจัยจะต้องทราบถึงทิศทางของการพัฒนาประเทศยุทธศาสตร์ของประเทศหรือว่าความต้องการในการกำหนดหัวข้อที่ตัวเองเชี่ยวชาญเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศหรือว่างานวิจัยในรายประเด็นของสถาบันการวิจัยต่างๆเพื่อเราจะได้ของงบประมาณในการวิจัยซึ่งยุทธศาสตร์ในแต่ละด้านก็จะมีความแตกต่างกันไปเพราะฉะนั้นนักวิจัยจะต้องมีความเข้าใจถึง การกำหนดหัวข้อที่ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์นั้น อย่างเช่น ในการกำหนดหัวข้อทางด้านสิ่งทอนักวิจัยอาจมีความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติก็ตั้งชื่อเรื่อง เช่น เน้นทุนวิจัยภายนอก ก็เหมือนแฟชั่นต้องให้ตามยุคสมัย แล้ว Trend ของทุนวิจัยไปบวกเข้าสามารถได้ชื่อ ชุดป้องกันรังสีจากผักตบชวา แต่เมื่อไปมองยุทธศาสตร์ชาติในแผนการพัฒนา New S Curve ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาทางด้านสิ่งทอทั้งด้านการแพทย์เพราะนักวิจัยจะต้องมีการกำหนดหัวข้อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วซึ่งในการกำหนดหัวข้องานวิจัยนั้นจะต้องมีการกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามให้สอดคล้องกันก็จะสามารถให้เห็นความแตกต่างว่าในการกำหนดนั้น
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมการกำหนดหัวข้องานวิจัยนั้นเราต้องพยายามเลือกให้มันเหมาะกับความถนัดของเรา และสิ่งที่สำคัญก็คือมันควรจะเป็นหัวข้อที่อยู่ในสมัยนิยมเรียกว่าวิ่งตามกระแสหรือเทรนด์ของโลกหรือของประเทศประเทศไทยหรือตามยุทธศาสตร์ของของชาติ แล้วที่สำคัญที่สุดเมื่อทำเรื่องนี้จบควรจะมีประโยชน์กับใครอย่างน้อยเกิดมาอยู่ตัวเองหาสังคมประเทศชาติหรือหรือชาวโลก
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์การตั้งชื่อสำคัญ เช่น ควรระบุให้ชัดๆ ก่อนอื่นเราต้องรู้ตัวเราก่อนว่าเราเนี่ยเป็นคนที่สนใจในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องอะไร ถ้าจะให้ดีที่สุดก็คือเราควรจะทำวิจัยในสิ่งที่เราสนใจแล้วก็สิ่งที่เราถนัด แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือเราต้องทำในสิ่งที่มันเป็นปัญหา แล้วก็เป็นความต้องการในระดับชาติ ถ้าเรามีสเกลเล็กลงมาอีกเราก็อาจจะคิดถึงแค่ในระดับชุมชนก็จะทำให้เราเนี่ยสามารถที่จะกำหนดหัวข้องานวิจัยได้ง่ายขึ้นและทำให้สิ่งที่ใกล้ตัว ถ้าทำในสิ่งที่ไกลตัวหรือว่าในสิ่งที่เราไม่ถนัดงานเราก็จะมีปัญหา ในช่วงที่เราทำวิจัยบางทีเราอาจจะไม่เชี่ยวชาญพอที่จะกำหนดหัวข้อหรือว่าอาจจะมีปัญหาในเรื่องขั้นตอนของการสรุปผลการวิจัย หรือว่าการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยในขั้นตอนต่อไป จากการสรุปแล้วก็คือเราควรจะทำในสิ่งที่เราถนัดแล้วก็ควรจะดูด้วยว่าเรามีศักยภาพไหม เรามีห้อง Lab พร้อมไหม หน่วยวิจัยพร้อมไหม
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์การเสนอหัวข้อและประเด็น เราจะต้องเสนอหัวข้อที่เกิดประโยชน์กับเขาจริงๆ เขาเอาไปใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่เขียนเพื่อขอตังเฉยๆ ยิ่งเป็นทุนภายนอกจะต้องตรงกับความต้องการ ของเจ้าของทุนหรือว่าได้ Impact ของเขาที่เอาไปใช้ได้จริง ซึ่งหัวเรื่องเกิดจากประสบการณ์เดิมของเรา เช่น การนำมาจากโครงงานที่เด็กไปฝึกงาน อาจจะดูจากการพัฒนาของโลก สิ่งรอบๆ ตัว เอาจุดความสนใจของเราเป็นหลัก เพราะทำให้เรารู้เรื่องที่เราทำได้ดี ตั้งสั้นตั้งยาวคิดกับความคนอ่านไม่สนใจใคร ส่วนในเรื่องของการกำหนดวัตถุประสงค์ ที่สำคัญสามารถสรุปได้ 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 คือ ตรงกับความต้องการของเขา ประเด็นที่ 2 ก็คือว่าตัวเราจะต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เราจะทำจริงๆ
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการกำหนดหัวข้อวิจัย คือต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจในขณะนั้น หรืออยู่ในกระแส เป็นปัญหาที่พบในขณะนั้น ไม่ซ้ำกับใคร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ แล้วมากำหนดเป็นชื่องานวิจัย ซึ่งต้องตั้งให้ชัดเจน ตรงประเด็น ใช้คำที่ดึงดูดความสนใจ เช่น

การเขียนตั้งชื่อเรื่อง สิ่งที่เราสนใจ + ทุนที่ไปขอ à เสร็จค้นหาข้อมูล

อ่าน Paper เยอะๆ

ค้นหาโรคอะไรเป็นเยอะ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาคุณสมบัติทางโภชนาการของแผ่นแป้ง

* ไม่เอาชื่อของโปรดักซ์เข้ามาก่อน à ปรับปรุงคุณภาพโภชนาการโรค NCD

 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลการเลือกหัวข้อเรื่อง เลือกจากสิ่งที่เรามี เลือกที่ใกล้ๆ ตัวเรา โดยการตั้งชื่อหัวข้อเรื่อง อาจไม่จำเป็นต้องตั้งชื่อเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย อาจเป็นการตั้งกระบวนการได้ ซึ่งในการกำหนดหัวข้องานวิจัยเราควรเขียนหัวข้องานวิจัยให้ดูน่าสนใจให้มีความกระชับให้รู้ว่าเรานั้นทำอะไรบางครั้งการเขียนหัวข้องานวิจัยจะบ่งบอกถึงตัวแปรต้นและตัวแปรตามเทคนิคการเขียนหัวข้องานวิจัยควรเลือกใช้ศัพท์หรือภาษาที่ชัดเจน

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  3/2560

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นหัวข้อ การเขียนบทนำ และการกำหนดวัตถุประสงค์ คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครในการวิจัยนั้นนักวิจัยจะต้องทราบถึง หัวข้อของงานวิจัยที่มีความต้องการแล้วก็แยกประเด็นของความสำคัญหรือที่มาของปัญหานะคะว่าการวิจัยนั้นมีความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในเรื่องใดเราจะต้องเล่าถึงในบทนำเราต้องเล่าถึงความสำคัญและก็ที่มาของปัญหาโดยอ้างถึงข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพให้ชัดเจนมีการอ้างถึงความเป็นจริงแล้วก็มีการอ้างถึงงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้เป็นบรรณานุกรมให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยนั้นอย่างแท้จริง นอกจากนี้ในการเขียนบทนำที่ดีจะต้องกล่าวถึง วิธีการและวัตถุประสงค์รวมทั้งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในการวิจัย และต้องมีการอ้างอิง Paper อื่น มาสนับสนุน ต้องมีการ Ref. งานวิจัยของตัวเอง ในการกำหนดวัตถุประสงค์นิยมที่จะกำหนดเป็นข้อเพื่อตอบโจทย์หรือปัญหาในแต่ละด้านให้ชัดเจนออกมาแล้วก็ตอบโจทย์ทุกรายข้อของงานวิจัยนั้นอาจจะมีตั้งแต่ 1-5 ข้อ ขึ้นอยู่กับความยาวของงานวิจัย
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมการเขียนบทนำเราควรจะเขียนลักษณะเหมือนเรียงความคือมี 3 ย่อหน้า โดยย่อหน้าแรกควรจะเป็นบทนำคือพูดเรื่องทั่วๆ ไปของสิ่งที่เราทำ ตรงช่วงนี้ควรจะมีเอกสารอ้างอิงด้วย แต่เป็นภาพที่กว้าง อาทิ Magic City รองรับหาว่าสิ่งที่เหลือทำไงมันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจสังคมและก็เป็นวงกว้างๆ ของเรื่องจะถามทบทวน ย่อหน้าที่ 2 เนี่ยเราก็ดึงไปเดินเข้ามาถึง Content นะคือบทนำใช่ไหมคะคือเราจะพูดกว้างเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งที่เราจะทำเลยว่ามันไปเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมตัวอื่นไหมเกี่ยวกับอาชีพอะไรบ้าง แล้วได้ มีการพัฒนาอะไรบ้างที่ได้มีการศึกษากันบ้างแล้วหรือมีใครทำงานวิจัยอะไรบ้างก็ใส่ลงไปตรงนี้นะคะจากนั้นเราก็ดึงประเด็นที่สองเชื่อมโยงมายังประเด็นที่ 3 คือสรุปตรงก่อนที่จะจบแล้วหน้าที่ 2 แล้วก็จะบอกว่ามันมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นนะหรือเปล่ามันมันยังมีใครทำอะไรที่มันคงค้างไว้นานหรือเป็นข้อเสนอแนะของใครแล้วแต่สมมติเราก็ดึงมาเป็นเจ้าหน้าที่ 3 ว่าอาจารย์สุพจน์ดังกล่าวข้างต้นเราหรือว่าผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะต่อยอดหรือศึกษาอะไรบ้าง ในส่วนของย่อหน้าที่ 3 เราควรจะเขียนวิธีการศึกษาและวิจัย ตบท้ายด้วยประโยชน์ที่จะได้รับว่าหลังจากงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว มันเกิดประโยชน์ใครบ้าง สามารถลดต้นทุนสามารถลดมลภาวะสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มประโยชน์แก่ประเทศชาติและแต่ต้องจบแบบนี้ เพื่อทำให้คนที่อ่านหรือว่าคนที่จะขอทุนเห็นว่า Project นี้มีประโยชน์ควรใช้ทุนขณะนี้ก็เป็นหลักการคราวๆ ในการเขียนในเรื่องของการเขียนบทนำ ส่วนการกำหนดวัตถุประสงค์นั้น เราต้องวางแผนดีๆ การเขียนวัตถุประสงค์ของงานวิจัยต้องขึ้นด้วยคำว่าเพื่อ (คำกริยา) และในการเขียนเราต้องมองว่าหลังจากเราจบงานวิจัยแล้ว ทั่วไปเราต้องมีการเผยแพร่จากผลของการศึกษาวิจัย อยากได้ทุกคนทราบว่าการเขียนจุดประสงค์นั้น ต้องสอดคล้องและสอดคล้องและสัมพันธ์กับในเรื่องของตัวหัวข้อที่เราเราเรากำหนดไว้ การเขียนจุดประสงค์ควรมีอย่างน้อย 3-4 ข้อ ไม่ควรมีแค่ 1-2 ข้อ ก็เพราะในการเขียน ทำรายงานทำงานวิจัย 1 เรื่องเลยแล้วอาจจะขอทุนแค่ปีเดียว หรือเราทำงานเสร็จแล้วให้ต้องมีการเผยแพร่ 2 Paper ระงับการเผยแพร่ 2 Paper นะคะถ้าเราเขียนจุดประสงค์ 1 ข้อ 2 ข้อเนี่ยอาจจะไม่เพียงพอแล้ว เราพยายามแตกจุดประสงค์ไม่ทั้ง 4 ข้อซึ่ง 2 ข้อแรกก็คือ Paper อีก 2 ข้อต่อมาคือ ข้อแรกอาจจะเป็นเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้พื้นฐาน แล้วก็สเต็ปขึ้นใหม่นั้นเวลาเขียนจุดประสงค์เนี่ยเรานึกถึงการขึ้นบันไดบันไดขั้นที่หนึ่งที่สองก็คือได้ผลลัพธ์ออกมา 1 2 เรื่องแล้วก็เผยแพร่ส่วนบันไดขั้นที่ 3 4 ถ้าศึกษาเชิงลึกอีก 3 4 ก็จะไปอีก 1 Paper
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์การเขียนบทนำและการกำหนดวัตถุประสงค์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เราให้ความสำคัญน้อย คือเราเนี่ยบางทีอาจจะไม่ชำนาญในการเรียบเรียงประโยคเองหรือว่าเขียนด้วยคำพูดของเรา ส่วนใหญ่ก็จะชำนาญในการ copy แล้วก็มาวางต่อๆ กัน แต่ว่าอยากจะบอกให้นักวิจัยทราบไว้ว่าส่วนนี้คือส่วนบทนำหรือบางทีเราเรียกว่า ที่มาและความสำคัญของปัญหาแล้วก็เหตุผลของการทำวิจัย จะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราได้เงินหรือว่า ได้งบประมาณหรือว่าไม่ได้งบประมาณมาทำวิจัยถ้าเราคิดว่าส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญเราก็จะต้องใช้เวลากับส่วนนี้ให้มากขึ้นแล้วก็ทำส่วนนี้ให้มันดีที่สุดเพราะว่าถ้าเราไม่สามารถบอกความเชื่อมโยงว่างานวิจัยของเรามีความสัมพันธ์กันยังไงปัญหามันเป็นยังไงแล้วก็ทฤษฎี ราคาทฤษฎีหรือว่ความรู้องค์ความรู้ที่เรามี มันเป็นยังไงที่มีอยู่นี่มีอะไรบ้างนะคะแล้วก็เชื่อมโยงว่าเราจะทำวิจัยด้วยวิธีการนี้เพื่อแก้ปัญหาที่มันมีอยู่เราก็สามารถที่จะเขียนแล้วก็บอกถึงเหตุผล แล้วก็หลักการว่างานวิจัยของเราเนี่ยมันดียังไงหรือว่ามันมีคุณค่ายังไงแล้วก็ให้เขาเห็นให้ได้ว่างานนี้มันต้องทำ แล้วก็มันมีความจำเป็นยังไงถึงจะต้องทำหรือว่าถ้าสมมุติว่ามันทำแล้ว มันจะทำให้อัตราการป่วยลดลง อัตราการสูญเสียลดลง หรือว่าการตายหรือลดลงถ้าเราบอกเหตุผลแบบนี้ ซึ่งมันออกมาในเชิงปริมาณได้มันก็จะทำให้เราสามารถที่จะให้เหตุผลแล้วก็สามารถเพิ่มน้ำหนักให้กับงานวิจัยของเราได้ เพราะว่าเวลาที่แหล่งทุนจะให้เงินเดี๋ยวเขาก็ดูว่าเขาให้เงินไปแล้วมัน ไม่มีความคุ้มค่าที่จ่ายที่จะเสียหรือเปล่าไปกลับงานวิจัยนี้ แล้วก็การกำหนดวัตถุประสงค์นี้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องพูดให้ชัดว่าเรามีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยยังไงอย่าพูดลอยๆ แต่พูดให้มันเห็นในรูปของให้มันเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะบอกได้ว่างานวิจัยของเรามีจุดมุ่งหมายยังไง แล้วก็ต้องสอดรับกลับเวลาที่เราเขียนจุดมุ่งหมายเสร็จแล้วก็ต้องเขียนวิธีการซึ่งสองอย่างนี้มันต้องมีความสัมพันธ์กัน เราถึงจะสามารถของบประมาณมาได้ หรือว่าเขาได้เห็นความสำคัญแล้วก็จะให้งบประมาณแก่เราได้
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์บทที่ 1 ให้ความสำคัญกับการกำหนดวัตถุประสงค์ แต่ในการเขียนบทนำเราจะต้องกำหนดสิ่งที่เราจะทำว่าตรงกับเป้าหมายของผู้ที่ให้ทุนไหมหมายความว่าที่เราจะเขียนไปขอเขาต้องดูว่าลักษณะของทุนที่เขาจะให้มันจะต้องได้ผลตรงตามที่เขาจะนำไปใช้ได้จริงๆ ในส่วนหนึ่งของเราในสถานะที่จะเป็นผู้ขอทุน เราจะต้องมีทักษะและมีความชำนาญในเรื่องที่เจ้าของทุนเขาให้จริงๆ ไม่ใช่ว่าอยากได้ทุนเขาจริงๆ แต่ไม่รู้ว่าแนวทางที่เขาจะทำเราจะสามารถทำได้ไหม เราจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในประเด็นที่เราจะขอทุนเขามาทำวิจัยจริงๆ  วัตถุประสงค์ต้องเป็นแนวทางที่นำไปสู่งานวิจัยได้จริง อย่าเขียนวัตถุประสงค์ที่เพ้อฝันต้องทำได้จริง เพราะว่าวัตถุประสงค์ที่ดีเราจะได้เรื่องของกระบวนการที่เราจะทำเลยว่าเราจะทำวิจัยเชิงคุณภาพหรือว่าเราจะทำวิจัยในเรื่องของการทดลอง เพราะว่าวัตถุประสงค์มันจะเป็นแนวทางที่เราสามารถที่จะออกมาเป็น Process ของงานวิจัยได้ถูกต้อง ถ้าคนที่เรากำหนดวัตถุประสงค์แล้วตัวเราไม่ชัดเจน แล้วเมื่อเราไปนำเสนอโครงการวิจัยกับผู้ให้ทุนตัวเราก็ไม่สามารถที่จะไปตอบได้ตรงกับประเด็น เช่น เราต้องการที่จะพัฒนาอะไรสักอย่างเราก็จะต้องบอกเขาว่าแนวทางที่เราจะทำวัตถุประสงค์ตรงนี้ ผลที่ได้ออกมามันมี Impact แค่ไหน ในส่วนตรงนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในเรื่องของการต่อยอดไปในเชิงพาณิชย์ได้ไหม แล้วความน่าเชื่อถือของผลงานว่ามันจะไปทำให้เขาได้คุ้มค่ากับทุนที่เขาให้ไหม แนวทางวัตถุประสงค์นี้มันจะต้องชัดเจน เพราะว่าวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมันจะเป็นแนวทางให้เราเอาไปร่วมกับกระบวนการแล้วเราลองแปรผลออกมาได้หมดเลย รวมไปถึงเรื่องของการเผยแพร่ด้วย
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์การเขียนบทนำ จะแบ่งการเขียนเป็น 3 ย่อหน้า ประกอบด้วย        ย่อหน้าที่ 1 จะเขียนถึงปัญหาที่พบที่เป็นที่มาของงานวิจัย ย่อหน้าที่ 2 เขียนเกี่ยวกับแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ หรือมีงานวิจัยใดบ้างที่เป็นการแก้ปัญหานั้นๆ มาแล้วบ้าง ย่อหน้าที่ 3 สรุปว่าแนวทางใดที่เราจะทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วมีข้อดีกว่าวิธีที่ผ่านมาอย่างไร เช่น ปัจจุบันคนเป็นโรคนี้ งบประมาณที่หลวงเสียไปในการดูแลรักษา ทำอย่างไรให้ตอบสนองให้ได้มากที่สุด ต้องค้นคว้าเรื่องของโรคนี้หลายๆด้านมาประกอบ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นแป้งเก่าไม่สามารถทำได้เอง ส่วนใหญ่นำเข้าจากเวียตนาม และดูว่าแผ่นแป้งที่สามารถนำมาประกอบอาหารเป็นส่วนใหญ่ และการเขียนวัตถุประสงค์ควรเขียนให้ครอบคลุมทุกข้อตามวิธีการทดลอง
 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลในการเขียนบทนำเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ท่านจะทำให้ผู้อ่านเล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยในการเขียนบทนำควรเน้นในการเขียนปัญหาหรือความสำคัญของปัญหานั้นจริงๆ นักวิจัยส่วนมากชอบใส่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาต่างๆ แต่จริงๆ แล้วในการเขียนบทนำควรใส่ข้อมูลทางด้านสถิติมากกว่า เช่น ในการเขียนทำงานวิจัยเรื่องเบาหวานบทนำควรใส่ข้อมูลทางด้านสถิติ เช่น จำนวนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในปัจจุบันหรือการใช้น้ำตาล เพื่อประกอบอาหารในแต่ละครัวเรือนว่ามีปริมาณการใช้ในปริมาณเท่าไหร่แล้วนำตัวเลขกันนั้นมาเขียนให้เห็นถึงความสำคัญว่ามันมีความสำคัญจริงๆ ในการเขียนบทนำนั้นไม่จำเป็นจะเขียนทางด้านบวกอย่างเดียว เขียนทางด้านลบก็ได้แล้วสุดท้ายเรามาเขียนขมวดในประโยคสุดท้ายว่าจากปัญหาข้างต้นเราเล็งเห็นถึงความสำคัญนั้นอย่างไรที่จะทำให้งานวิจัยของเรานั้นนำไปช่วยในการแก้ไขปัญหาได้ส่วนการเขียนวัตถุประสงค์การเขียนวัตถุประสงค์ควรเขียนให้รู้ว่าอะไรคือตัวแปรต้นอะไรคือตัวแปรตามสามารถวัดหรือวิเคราะห์หรือแปลผลจากวัตถุประสงค์ได้และควรเขียนให้กระชับ

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  4/2560

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นหัวข้อ การกำหนดขอบเขตการวิจัย คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครในการกำหนดขอบเขตการวิจัยก็เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งการขอบเขตการวิจัยนั้นเปรียบเสมือนการตั้งกรอบรั้วบ้านเอาไว้ว่าเราจะทำการศึกษางานวิจัยนี้เรื่องอะไร แล้วก็บอกขอบเขตนิยมเขียนเป็นขอบเขตที่เรียงตามวัตถุประสงค์อย่างเช่นขอบเขตในเรื่องของการคัดเลือกวัตถุดิบ ต้องระบุวัตถุดิบที่เลือกใช้ให้ชัดเจนหรือขอบเขตในเรื่องของวิธีการทดลองก็จะต้องระบุวิธีการทดลองหรือข้อจำกัดของการทดลองเพื่อไม่ให้ผู้อ่านงานวิจัยเกิดข้อผิดพลาดหรือว่าเกิดหลงประเด็น เพราะฉะนั้นในการกำหนดขอบเขตเรามีขอบเขตในเรื่องใดบ้างก็ควรที่จะนำมาเขียนเป็นขอบเขตของงานวิจัยให้ถูกต้อง
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมการกำหนดขอบเขตการวิจัยและเราสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบบางครั้งจะเขียนเป็นลักษณะเป็นรูปแบบเป็นข้อ หรือบางครั้งอาจจะเขียนเป็นลักษณะเป็นเรียงความก็ได้ แต่สำหรับตัวเองชอบเขียนเป็นเรียงความมากกว่าการเขียนขอบเขตแนวก็คือเหมือนเราไปดูหนังมา 1 เรื่อง แล้วเราก็เล่าฉบับย่อๆ ให้กับคนที่ไม่เคยไปดูหนังฟังมาคำว่าคนฟังเนี่ยฟังเราพูดฉบับเรื่องย่อ เขารู้เลยว่าเอาหนังเรื่องนี้เรื่องราวเป็นยังไงเช่นเดียวกัน เวลาเขียนในเรื่องของขอบเขตงานวิจัยนะคะเราก็จะโฟกัสในเรื่องของผู้จัดการทำงานเป็นส่วนใหญ่ ว่าจุดประสงค์ให้ 1 อย่างแล้วเราทำอย่างไร เราได้อะไรจุดประสงค์จากงานวิจัย หากเราทำอะไรแล้วจะได้อะไรจะไปส่งให้ทำอย่างไร จะได้อะไรเล่าให้เราฟังข่าว หมายความว่าอ่านคนที่สนใจงานวิจัยเหล่านั้นก็จะรู้เลยว่าเราจะทำอะไรบ้าง
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์การกำหนดขอบเขตของการวิจัย ก็เป็นหัวข้อนึงนะคะที่มีความสำคัญที่นักวิจัยจะต้องบอกได้ว่าขอบเขตของงานมีมากน้อยแค่ไหนมันจะกว้างหรือว่ามันจะแคบแค่ไหนเพราะว่าถ้าเกิดเราทำในสเกลเล็กมันก็จะแคบ ถ้าเราทำในห้องแลปเราอาจจะใช้ข้อมูลอีกแบบนึง แต่ถ้าเราทำในจังหวัดเราก็ต้องหาข้อมูลหรือว่าแหล่งที่เก็บข้อมูลก็อีกแบบหนึ่งถ้าเราทำในระดับประเทศเราก็ต้องกำหนดวิธีเก็บข้อมูลแล้วก็กลุ่มเป้าหมายที่เราจะเก็บข้อมูลอีกแบบหนึ่ง นอกจากนั้นการกำหนดขอบเขตนี้ก็จะช่วยให้เรารู้ว่างานวิจัยที่เราทำแล้วเนี่ยเวลาประสบความสำเร็จ เราสามารถที่จะอธิบายได้มากน้อยแค่ไหน ดังเช่น ว่าเราทำในโรงเรียนเราก็อาจจะอธิบายได้ในโรงเรียนที่มีลักษณะแบบเดียวกันหรือว่าการวิจัยที่ทำในผู้หญิงมันก็สามารถที่จะอธิบายปรากฏการณ์แบบนี้ได้เฉพาะในผู้หญิง หรือว่าถ้าสุ่มว่างานวิจัยทำในระดับประเทศจะต้องเป็นประเทศที่มีลักษณะแบบไหนถึงจะสามารถที่จะเอางานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ได้เพราะว่าแต่ละประเทศมันก็จะมีลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่หรือว่าลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันเพราะฉะนั้นเวลาที่เรากำหนดขอบเขตของงานวิจัยแล้ว ขอบเขตของงานหรือว่าขอบเขตของงานวิจัยของเรามันก็จะสามารถที่จะใช้หรือว่าคนที่เอาไปใช้ก็ได้ พอที่จะประมาณได้ว่าถ้าเกิดเขาจะเอางานวิจัยนี้ไปใช้ เขาจะใช้ได้ในระดับไหนบ้างแล้วก็อีกขอบเขตในการใช้ ในขอบเขตที่แคบ ขอบเขตที่กว้างหรือว่ามากน้อยแค่ไหนหรือว่าใหญ่ขนาดไหน
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์การกำหนดขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตนี้จะลิงค์กับวัตถุประสงค์เพราะว่าขอบเขตจะเป็นตัวที่ทำให้เรานี้บรรลุวัตถุประสงค์ ถ้าเราไม่กำหนดขอบเขต ถ้ามันกว้างเกินไปเราก็ไม่สามารถที่จะสรุปแล้วดึงผลนั้นมาใช้ได้จริงๆ ฉะนั้นการกำหนดขอบเขตการวิจัยจะทำให้ผู้วิจัยชัดเจนในประเด็นที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น เราจะพัฒนาอะไรสักอย่างหนึ่งในผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นว่าเราจะพัฒนาผ้าขาวม้า ซึ่งผ้าขาวม้ามีเต็มไปหมดในประเทศไทย แต่อย่างเช่นว่าเรากำหนดขอบเขตเราเน้นไปในจุดที่เราจะทำให้ชัดๆเลย ในส่วนตรงนี้ก็สามารถที่จะทำให้เราขมวดได้ว่าในจุดของคุณภาพที่เราจะพัฒนามันจะจบในส่วนตรงนี้แล้วมันก็จะนำขอบเขตตรงนี้ แล้วมันอาจจะขยายผลเป็นหัวข้อหรือเป็นปประเด็นต่อไปที่จะไปใช้ในที่อื่นในลักษณะนี้ เพราะฉะนั้นขอบเขตนี้มันเป็นส่วนสำคัญมาก ถ้าไม่มีขอบเขตงานวิจัยก็จะไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่เราจะทำหัวข้อตรงนี้ ถ้าไม่กำหนดขอบเขตแล้วประเด็นมันกว้างไปก็จะไม่สามารถนำไปสู่แหล่งทุนที่เราต้องการได้
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์การกำหนดขอบเขตการวิจัยควรเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกำหนดกรอบการทำวิจัยให้กระชับและชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของข้อเสนอโครงการวิจัย ทำให้ผู้ให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัยเข้าใจถึงขอบเขตและกระบวนการในการศึกษาวิจัยของนักวิจัยอย่างชัดเจน
 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลการกำหนดขอบเขตการวิจัยในการเขียนควรเขียนให้แสดงถึงตัวแปรต้นและตัวแปรตามรวมถึงวิธีการวัดหรือการประเมินการตรวจสอบการวิเคราะห์ส่วนทางด้านสังคมศาสตร์ในการเขียนขอบเขตการวิจัยอาจจะเริ่มตั้งแต่ขอบเขตถึงประชากรขอบเขตเนื้อหาขอบเขตระยะเวลาและก็ขอบเขตทางด้านสถานที่

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  5/2560

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นหัวข้อ การตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครในการตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนี้มีความสำคัญมากในการวิจัย นักวิจัยจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะดำเนินการวิจัยในที่นี่ก็หมายถึงว่านักวิจัยจะต้องอ่านเอกสารในเรื่องที่เรากำลังจะทำงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง บทความหนังสือหนังสือพิมพ์หรือข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังจะทำการวิจัยเราก็ทำการเก็บรวบรวมเอกสารเหล่านั้นเพื่อที่จะนำมาใช้ประกอบในบทที่ 2 ซึ่งเราเรียกว่าการตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยเป็นการจัดลำดับงานวิจัยเอาไว้ในเรื่องที่เราจะทำการศึกษาเป็นหัวข้อหัวข้อไปแล้วก็แยกเป็นประเด็น นอกจากนี้การตรวจสอบเอกสารงานวิจัยหลายอย่างมีประโยชน์ในเรื่องทั้งหมดที่เราจะทำการอภิปรายผล ซึ่งหลังจากที่เราทำการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้วเราสามารถนำผลของคนอื่นหรือว่าจากบทความอื่นๆ ที่เราอ่านมานั้นเป็นการสนับสนุนงานวิจัยของเราว่าผลของเราที่ออกมามีความสอดคล้องหรือแตกต่างจากงานคนอื่นๆ อย่างไรบ้างอันนี้ก็จะเป็นเทคนิคและก็การตรวจเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมการตรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มันก็คือการตรวจเอกสารทฤษฎีต่างๆ ที่เราจะนำมาใช้ในการที่จะไปอ้างอิงในบทที่ 5 ปกติและการเขียนงานวิจัยส่วนใหญ่เนี่ยจะมีทั้งหมด 5 บท บทที่ 1 ก็คือบทนำบทที่ 2 คือการเขียนเอกสารอ้างอิงและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 ก็จะเป็นเรื่องของวิธีการดำเนินงาน บทที่ 4 จะคือผลการวิจัย บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนั้นเราทำทฤษฎีเพื่อมาเรียกว่าตรวจทฤษฎีว่ามีใครบ้าง ที่มีการเขียนทฤษฎีในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องก็เลยลองถามงานวิจัยหรืองานวิจัยไรบ้างนะที่มันเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ บทที่ 2 มันก็คือการตรวจเอกสารแต่ว่ามีใครในโลกนี้บ้างที่ทำงานวิจัยที่คล้ายกับเราเอามาใส่ไว้ในแต่ละจุดของการตรวจเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น เราจะนำไปใช้ในบทที่ 5 บทที่ 5 เช่น บทที่ 5 ผลของเราวันนี้มันสอดคล้องหรือขัดแย้งหรือใกล้เคียงหรืออะไรก็แล้วแต่กับใครในทฤษฎี บทที่ 2 ก็คืองานเอกสารเอกสารและใครบ้างที่มีงานวิจัยเหมือนกันหรือแตกต่างกับเราตรงๆ บทที่ 5 เป็นเรื่องของการแปลผลให้ก็คือเราจะไปดึงเอาทฤษฎีกับเอกสารอ้างอิงบทที่ 2 เอามาเอามาแปลว่าเอามารวบรวม หางานวิจัยของเราทำให้งานวิจัยของเรานี้มีข้อมูลอ้างอิงและว่ามันสอดคล้องหรือมันขัดแย้งหรือมันใกล้เคียงนะหรือมีใครบ้างที่มันศึกษาให้คล้ายเรื่องอะไร เป็นต้น งั้นประโยชน์ของการตรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ก็คือว่ายิ่งลดต่อเอกสารมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เรารู้กว้างมากขึ้นว่าในโลกนี้มีใครบ้างที่ศึกษาสิ่งที่มันใกล้เคียงกับเราเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงแปลผลบทที่ 5
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์

การตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บางทีเราก็จะเรียกหัวข้อนี้ว่าเป็นการทบทวนวรรณกรรม อันนี้ก็หมายถึงว่าก่อนที่เราจะทำงานวิจัยนี้เราสนใจในเรื่องไหนแล้วก็ต้องรู้ราคาแล้วก็ต้องทำงานแล้วก็มีความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยเพราะว่าถ้าเกิดเราไม่รู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยเวลาที่เราได้ผลงานวิจัยหรือว่าเวลาที่เราคิดงานวิจัยบางทีเราได้ผลมาแล้วอาจจะอธิบายไม่ได้หรือว่าเวลาเรากำหนดขอบเขตแล้วเราก็อาจจะหาตัวแปรที่มันมาใช้วัดหรือว่าใช้ในการตอบคำถามของงานวิจัยนี้ไม่ได้เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะทำอะไรอย่างอื่นเลยก็คือเริ่มต้นเนี่ยเราจะมาจากหัวข้อที่เราสนใจ เพราะหลังจากที่ว่าเราได้หัวข้อของงานวิจัยแล้วขั้นตอนต่อมาที่เราจะต้องทำก็คือเราจะต้องหาองค์ความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับงานวิจัยที่เราสนใจอะไรบ้างก็คือเราสามารถหาได้จากไหน ก็คืออาจจะหาได้จากงานวิจัยเก่าๆที่เขาทำ ก็คือถ้าเป็นระดับปริญญาโทก็อาจจะได้จาก Thesis หรือว่าถ้าเป็นข้อมูลของหน่วยงานเราก็อาจจะเข้าไปในเว็บไซต์ของหน่วยงาน แล้วก็ดูเอกสารหรือว่าสิ่งตีพิมพ์ที่หน่วยงานได้ตีพิมพ์เผยแพร่ถ้าเป็นมหาลัยเหล่านี้เราก็อาจจะหาได้จากห้องสมุดอาคารของมหาวิทยาลัยนะคะแล้วก็อีกอย่างนึงที่เราสามารถหาได้รอบโลกเลยนะคะแล้วก็ข้อมูลมันจะเปิดกว้างมากก็คือข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ตนะคะซึ่งข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ตที่มันน่าเชื่อถือที่เราสามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกใส่เอกสารตีพิมพ์ผลงานเท่าไหร่แล้วที่เราเรียกว่าบทความตีพิมพ์แต่ถ้าเป็นเอกสารหรือว่าเป็นบทความที่เขียนบนอินเตอร์เน็ตหรือว่าในเว็บทั่วทั่วๆ ไป อย่างเช่น บทความที่เขียนโดยไม่มีผู้แต่งหรือว่าไม่มีแหล่งอ้างอิงเนื้อหาบทความนี้ก็จะมีความสำคัญหรือว่ามันมีน้ำหนักในการอ้างอิงน้อยเพราะฉะนั้นถ้าเรา อยากได้งานที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือแล้วก็ที่นิยมใช้ทั่วไปก็คือบทความที่เผยแพร่โดยวารสารตีพิมพ์ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตอาคารเสร็จแล้วก็เราได้เอกสารพรุ่งนี้มา เราก็จะมารวบรวมแล้วเราก็จะเอามาประมวลว่ามันมีทิศทางเป็นยังไงมันมีทิศทางไปในทางเดียวกันไหมไปทางบวกเหมือนกันไหมหรือว่าทิศทางไปในทางลบเหมือนกันไหมหรือว่าบางทีมันอาจจะเป็นข้อมูลที่แบบมีลักษณะทางการอีกคนหนึ่งว่าอย่างหนึ่งบางคนก็บวกบางคนก็ลบบางทีเราก็ต้องดูว่าวิธีการได้มาของข้อมูลหรือวิธีการทดลองเค้าได้มายังไงมาทีเราก็ต้องเอามาพิจารณาให้รอบคอบเราก็ต้องดูว่าวิธีการทดลองเขาเนี่ยมันมันมันใช้ได้ไหมกับข้อมูลลักษณะแบบเดียวกันนี้

 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์การตรวจเอกสารมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมันจะทำให้เราสามารถที่จะตีกรอบหรือหาความชัดเจนของการกำหนดวัตถุประสงค์ของงานเราได้ชัดเจนมีแนวโน้มจะเป็นไปได้ไหมหรือว่าป้องกันการที่เหมือนกันลอกเลียนแบบหรือทำซ้ำในลักษณะของการตรวจเอกสาร หัวข้อที่ตรวจเอกสารนั่นเราต้องหาข้อมูลมาซัพพอร์ตกับเรื่องที่เราทำให้มากที่สุด เพราะมันจะเป็นประโยชน์ต่อการที่เราจะเอาไปเขียนผลการวิจัยเชิงทฤษฎีและงานวิจัยที่มันผลการวิจัยที่มัน Strong ใหญ่มันจะต้องตั้งสิ่งที่จะดี ไม่ใช่ว่าเราคิดเองเราคาดเองหรือว่า มันน่าจะเป็นอย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้นะคะทำงานวิจัยที่มันควรจะมีทฤษฎีมาอ้างอิงเยอะๆในลักษณะตรงนี้เวลาที่เราอภิปรายผลถึงจะทำให้งานวิจัยและดูมีคุณค่าเพราะฉะนั้นสำหรับครูการตรวจเอกสารเป็นสิ่งที่สำคัญแล้วส่วนใหญ่ที่มักพบก็คือว่าการตรวจเอกสารไม่ค่อยๆ เขียนอ้างอิงไม่ถูกจะด้วยอะไรก็ตามในส่วนอ้างอิงเนี่ยมันจะต้องตรวจเอกสารไม่ต้องมีส่วนที่บอกแล้วก็ไปขยายที่มาในบรรณานุกรม บางคนยังไม่มีจรรยาบรรณเรื่องการงานวิจัยเพราะทุกอย่างมันมีทฤษฎีถูกต้องถ้าเราอ้างอิงมากเท่าไหร่ แปลว่าเราเนี่ยเข้าถึงหรือเราได้มีการมีการหาข้อมูลมา       ซัพพอร์ตของเรามากเท่านั้น
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์ตรวจเอกสารเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น และเขียนให้ครบ ไม่ copy แล้ววาง ควรมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นำมาเขียนในการตรวจเอกสาร ไม่ควรอ้างอิงจาก website ใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และการอ้างอิงงานวิจัยเราจะนำข้อมูลจากงานวิจัยนั้นมาใช้ประโยชน์ โดยงานวิจัยนั้นให้เข้าใจแล้วนำมาสรุปส่วนที่เราจะนำมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัย ควรอ้างอิงงานวิจัยที่เป็นปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรทั้งที่เป็นในประเทศและต่างประเทศ
 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลการตรวจสอบเอกสารอะไรงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรามักเขียนอยู่ในบทที่สองคือการเขียนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของงานวิจัยเรามาทั้งหมดทางด้านทฤษฎีควรนำมาจากหลากหลายที่และนำมาเขียนด้วยภาษาของตัวเรามีการรวบรวมเอกสารที่ถูกต้องมีการเขียนอ้างอิงของผู้ที่นำข้อมูลมาให้ที่ถูกต้องและงานวิจัยควรเป็นงานวิจัยที่มีเนื้อหาหรือมีวิธีการวิเคราะห์การตรวจสอบการประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเราเองงานวิจัยที่นำมาไม่ควรที่จะเก่าจนเกินไปหรือจำเป็นต้องมีงานวิจัยเก่าเก่านั้นเพื่อนำมาเปรียบเทียบให้แสดงถึงในอดีตปัจจุบันนั้นมีงานวิจัยในเรื่องที่ใกล้เคียงอย่างไรหรือมีความแตกต่างกันอย่างไรนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบให้อย่างชัดเจน

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  6/2560

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นหัวข้อ การเขียนวิธีการทดลอง คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครการเขียนวิธีการทดลองหลังจากที่เราได้กำหนดชื่อเรื่องวัตถุประสงค์ขอบเขตการวิจัยรวมทั้งการตรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้วก็ถึงขั้นตอนของการวิธีการเขียนการทดลอง ซึ่งวิธีการทดลองเราจะต้องมีขั้นตอนการเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เรากำหนดเอาไว้ในแต่ละข้อแยกวิธีการทดลองออกมาให้ชัดเจนในการเขียนวิธีการทดลองนั้น จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือการวางแผนการทดลองสถิติที่ใช้รวมทั้งกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดตัวแปร อีกครั้งหนึ่งการเลือกเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมแล้วก็มีความทันสมัยเพื่อตอบโจทย์กับงานวิจัยนั้นๆ ให้ถูกต้อง รวมทั้งการกำหนดสติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด ตบท้ายด้วยประโยชน์ ให้ระบุว่าใครจะได้อะไร ประเทศชาติ กลุ่มคน
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมการเขียนวิธีการทดลองให้ขึ้นต้นด้วยคำว่าการ เวลาเขียนยกโจทย์มาเขียนแล้วให้เขียนว่าเป็น จำไว้เสมอว่าเราทำให้คนอื่นอ่าน ซึ่งการเขียนวิธีการทดลองตรงนี้สำคัญมาก ภาษาบางคนหรือนักวิจัยบางคนนี้ เขียนอ่านแล้วสับสนมากเลย ซึ่งจะทำให้เราได้ทุนหรือไม่ได้ทุนเลย เพราะว่าถ้าเราเขียนให้คนอ่านแล้วรู้เรื่อง มันก็จะง่ายแต่ถ้าเราเขียนให้คุณอ่านไม่รู้เรื่องนี้บอกได้เลยว่าไม่ได้ผลแน่นอน ก็คือว่าจำได้ว่าเรากำหนดวัตถุประสงค์ว่ายังไงการเขียนวัตถุประสงค์จำไว้เสมอว่าเราต้องขึ้นด้วยตนขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ทำการทดลองเขียนวาดรูปแบบ หรือศึกษาก็ขึ้นต้นด้วยคำกริยาเวลาเราเขียนเรื่องวิธีการทดลองนะให้เราไป Copy ตรงจุดประสงค์มาเลย แล้วนำมาวางในการเขียนวิธีการทดลอง การเขียนวิธีการทดลองนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในบทที่ 3 ของรายงานวิจัย วิธีการเขียนวิธีการวิจัยก็คือการเขียนขั้นตอนการทำงานจากง่ายไปหายากไล่ลงไปทีละข้อ แล้วเราก็จะขาดไม่ได้ตรงนี้สำคัญมากลองมาจากบทที่ 1 เขาจะให้ทุนเราหรือไม่ หลักการให้ผลคือบทนำในครั้งหนึ่งแต่ถ้าเราเขียนแล้วจุดประสงค์ตั้งเรียบร้อยแล้วนะเมื่อวิธีการไม่รู้ว่าไม่เคลียร์ อันนี้สำคัญมากเขานี้จะบอกอีกนิดนึงว่าบางคนอยู่ทำงานวิจัยแยกไม่ออกกับงานการเขียนรายงานนี้มันไม่มีสถิติสิติรองรับแต่ถ้าเป็นงานวิจัย หลังจากเขียนเสร็จยังค้นงานวิจัยต้องมีเหตุระเบียบวิธีวิจัยรองรับ ซึ่งมันแตกต่างกับการเขียนรายงานทั่วไปแล้วภาษาของการเขียนงานวิจัย ไม่มีสรรพนามบุคคลที่ 123 ลงไปในนั้น เราจะเขียนแบบสำนวนภาษาในวิจัยเลย
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์การเขียนวิธีการทดลองหรือว่าวิธีดำเนินการในการวิจัย ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ง่ายที่สุดที่นักวิจัยหรือควรจะทำก่อนเพราะว่าถ้าเรามีหัวข้อเกี่ยวกับงานวิจัยแล้วหรือว่าได้หัวข้องานวิจัยแล้ว สิ่งที่เราจะเขียนได้เป็นอันดับแรกก็คือวิธีทดลองว่าเราจะทดลองยังไงถ้าเรามีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องที่เราจะทำงานวิจัยนะเราจะรู้ว่าถ้าเราทำวิจัยเรื่องนี้ ขั้นตอนที่ 1 เราจะต้องทำยังไง ขั้นตอนที่ 2 เราจะต้องทำยังไง แล้วก็ขั้นตอนต่อไปเนี่ยเราควรจะทำยังไง อย่างวิธีการในการทำงานวิจัยเราก็จะมีอาศัยทฤษฎีหรือว่าองค์ความรู้ที่มันเฉพาะด้าน อย่างเช่นถ้าเกิดเราสนใจในเรื่องบัว เราก็จะต้องหาสารสกัดแล้วก็วิธีการในการหาสารสกัดมันก็จะมีมาตรฐานของวิธีการแต่ละวิธีว่าเราจะต้องทำยังไงแล้วก็จะเป็นวิธีที่แบบ เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ของนักวิจัยด้วยกัน แล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่เราจะต้องมองก็คือเราต้องดูศักยภาพของห้องแลปเครื่องมือเครื่องใช้ในการทดลองว่ามีอะไรบ้างที่มันสามารถจะใช้ได้หรือว่าถ้าสมมุติว่าเป็นงานวิจัยที่ต้อง เอาไปใช้เครื่องมือข้างนอกหรือว่าต้องใช้เครื่องมือของหน่วยงานอื่นนี้เราก็จะสามารถที่จะติดต่อเราก็หาผู้ที่สนับสนุนหรือว่าหน่วยงานที่สนับสนุน จะทำในสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราจะมีเครื่องมือพอหรือเปล่าหรือว่ายังไม่รู้ว่าเราจะขอใช้เครื่องมือได้จากที่ไหน เพราะเราได้วิธีการในการทำวิจัยแล้ว ต่อไปแล้วก็จะต้องหาสถิติที่เราจะใช้ในการทำวิจัยว่าเราจะต้องเก็บข้อมูลยังไง แล้วก็เราจะทดสอบสถิติยังไงของข้อมูลที่เราเก็บได้ว่าข้อมูลอยากเป็นเชิงปริมาณหรือว่าเป็นเชิงคุณภาพ ซึ่งงานที่ทำต้องมีประโยชน์ “ชีวิตสิ้นแต่ผลงานนิรันดร”
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์การเขียนวิธีทดลองส่วนใหญ่แล้วงานวิจัยวิทยาศาสตร์เราไม่เหมือนสังคม แล้วการทดลองการวางแผนเขียนกรอบการวิจัยมีส่วนสำคัญเพราะว่าเราต้องตีวัตถุประสงค์ของเราให้แตก เราจะต้องบอกเลยว่าวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ผลมันไม่ใช่แบบสังคม การศึกษาความคิดเห็นก็ออกมาในเชิงตรงนี้แต่งานวิจัยจะต้องออกในเชิงทดลองส่วนใหญ่ที่เป็นแนวทางของเรา เป็นเชิงวิทยาศาสตร์หรือไม่ก็จะใช้กระบวนการทดสอบอย่างมันไม่จำเป็นต้องแปลผลด้วยความรู้สึกเพราะว่าสิ่งที่มันออกมามันคือการผลเลย ซึ่งเป็นผลจากเครื่องทดสอบที่มีความเชื่อถือได้ ยิ่งผลการทดลองบางอย่างมันมีใบรับรอง อย่างเช่นว่า เรื่องของสิ่งทอไม่มีสถาบันมาตรฐานสิ่งทอและส่งไปทดสอบหรือไม่ เขาจะมีใบรับรองเลย แล้วทุกอย่างก็บอกว่ามาตรฐานอะไร ตั้งแต่การวางแผนการทดลองเราต้องวางแผนให้ครอบคลุมว่ามีมาตรฐานอะไรบ้างที่เราเอามาใช้ในวิจัยนี้ส่วนใหญ่แล้ว ทางวิทยาศาสตร์การวางแผนในการเขียนทั้งหมดเพราะฉะนั้นผู้ที่จะศึกษานี้จะต้องไปศึกษาวิธีการวางแผนการทดลองให้ชัดเจนว่าจะใช้แผนการทดลองอะไร มีตัวแปรอะไรที่จะมาทดสอบวิธีที่แตกไปจนกระทั่งถึงว่าเราจะแปลผลยังไง แล้วจะออกสมมติฐานได้อย่างไรถ้าเราตี 3 แผนทดลองไม่แตกยังไม่รู้จะจับความสัมพันธ์กันได้ไหมตัวแปรกี่ตัวคือจบเลยงานวิจัยนั้นก็ค่อนข้างจะมีความสำคัญก็เขียนแบบเชิงศาสตร์ในงานวิจัยในสายวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่แล้วการทดลองนี้เป็นแผนที่สำคัญกว่าสังคม
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์การเขียนวิธีการทดลองให้เขียน Flow Chart  ขั้นตอนการวิจัยหลักก่อน โดยให้ครอยคลุมถึงผลสุดท้ายที่ต้องการ แล้วค่อยลงรายละเอียดของ Flow Chart ที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ศึกษา จำนวนระดับแผนการทดลองที่ใช้ สิ่งทดลองที่ได้  การเคราะห์คุณภาพ วิธีการที่ใช้ในการคัดเลือกสิ่งทดลองที่เหมาะสม แล้วจึงนำรายละเอียดจาก Flow Chart ที่ได้ไปเรียบเรียงเขียนเป็นบรรยาย
 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลการเขียนวิธีทดลองในการเขียนวิธีทดลองติดสายวิทยาศาสตร์ควรระบุตั้งแต่เครื่องมืออุปกรณ์สารเคมีต่างๆ ให้ระบุถึงยี่ห้อสเปคต่างๆ ให้ถูกต้องเพราะหากคุณอ่านนำไปทดลองตามจะได้ใช้เครื่องมือที่มีความใกล้เคียงหรือยี่ห้อเดียวกันเพื่อป้องกันความแตกต่างของผลของการทดลองส่วนขั้นตอนการทดลองให้เขียนตั้งแต่ตัวแปรต้นตัวแปรตามว่ามีอะไรบ้างมีวิธีการอย่างไรรวมถึงวิธีการทดสอบวิธีการวิเคราะห์หรือวิธีการประเมินผลต้องชัดเจน

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  7/2560

วันพุธที่ 25 เมษายน 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  09.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นหัวข้อ แหล่งเงินทุนวิจัย คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนวิจัยในประเทศไทยเราก็จะมีอยู่หลายหน่วยงานที่ให้ความสนใจแล้วก็ให้ทุนวิจัย เราเรียกว่าสถาบันการวิจัยอย่างเช่น สถาบันแรกคือ สำนักงานคณะการวิจัยแห่งชาติ หรือว่า วช. เขาก็จะเปิดโครงการรับทุนเสนอทุนข้อวิจัยประจำปีเพราะฉะนั้นนักวิจัยจะต้องดูทิศทางของข้อกำหนดนั้นๆ ว่าไปในทิศทางใดเรื่องอะไรเรามีความเชี่ยวชาญเรามีความสนใจในประเด็นนั้นนั้นหรือไม่ถ้ามีความสนใจเราก็โหลดแบบฟอร์มเข้ามาแล้วก็กรอกการขอทุนให้สอดคล้องกับหน่วยงานนั้นๆ หน่วยงานที่ 2 สวทช. ก็เป็นอีกหน่วยงานที่น่าสนใจแล้วก็เป็นแหล่งทุนส่วนใหญ่ สวทช. จะต้องร่วมมือกับอุตสาหกรรม หรือว่าหน่วยงานที่ได้รับผลประโยชน์จากการวิจัยเราเรียกว่าเป็นงานวิจัยประเภททวิภาคีหรือว่าไตรภาคีก็คือมีการจับมือร่วมกับสถานประกอบการและก็ไปขอทุนที่ สวทช. หน่วยงานที่ 3 สวก. เป็นหน่วยงานวิจัยที่มุ่งเน้นถึงการพัฒนาทางด้านการเกษตร หน่วยงานที่ 4 สกว. ก็เป็นอีกที่นึงที่น่าสนใจในการแหล่งขอทุนภายนอก สุดท้ายน่าจะเป็นในเรื่องของแหล่งทุนของ swot นวัตกรรมเป็นแหล่งทุนล่าสุดในปัจจุบันที่มีความทันสมัยมุ่งเน้นถึงการคิดวิจัยแล้วก็สู่นวัตกรรมในอนาคต
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนงานวิจัย ปกติแล้วนักวิจัยส่วนใหญ่จะได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอกนั้นก็คือในเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเราทุกอย่าง เช่น เราไปรับทุน วช. อยู่ตรงหน้า สวทช. สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือหน่วยงานที่ชื่อเราไปตรงกับหรือไปสอดคล้องกับนโยบายของของการทำงานของหน่วยงานนั้นๆ แล้วก็จะทำให้เราได้ทุนสนับสนุน เมื่อได้ทุนแล้วเราก็ต้องทำตาม process ของหน่วยงานที่ขอทุน แบบฟอร์มในการเขียนโครงการวิจัยแต่ละหน่วยงานจะไม่เหมือนกันซึ่งเราจะต้องปรับตัวของเนื้อหาทั้งหมดลงในแบบฟอร์มของที่เราไปรับทุนมา แล้วก็ตามเมื่อเราได้รับทุนเสร็จเราจะต้องเขียนตามแบบฟอร์มของทุนที่ให้เหมือนกันทุกอย่างเช่น เราได้รับทุนจาก วช. แต่ผ่านมหาวิทยาลัย เราก็ต้องทำตามแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยแต่ถ้าเราไปรับทุนจาก วช. โดยตรง วช. ก็จะมีแบบฟอร์มที่ต้องคำนึงถึงไม่เหมือนกับไม่เหมือนกับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเวลานั้น แต่ก็ใกล้เคียงกันซึ่งเราสามารถ Apply หรือนำไปใช้ได้คือเปลี่ยนบทหรือเป็นสำนวนเข้าไปนิดหน่อยเพราะใช้งานได้แล้ว แล้วสิ่งที่หนักที่สุดก็คือว่าเมื่อเราได้รับทุนวิจัยแล้ว เราก็ควรจะให้เกียรติทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นเขียนเล่มต้องอยูหน้าปกเลย หรือแม้กระทั่งเราเผยแพร่งานวิจัยเราควรจะเขียนว่าก่อนจะถึงเอกสารอ้างอิง ว่าเราได้รับการสนับสนุนทุนนี้จากที่ไหนเพื่อเป็นการให้คนที่อ่านผลงานเราตาม journal หรือตาม Conference ว่าเราผ่านการกลั่นกรองว่างานวิจัยเราสำคัญขนาดไหนถึงได้ทุนนั้น มันก็เป็นเครื่องทำให้งานวิจัยมีคุณภาพ ผ่านการ     การันตีระดับหนึ่งจากหน่วยงานภายนอกถือว่ามีความสำคัญมาก
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์การทำวิจัยสิ่งที่สำคัญก็คือเงิน เพราะว่าเงินจะเป็นตัวที่สำคัญที่สุดเพราะว่าไม่มีใครที่ทำวิจัยได้โดยไม่มีเงิน ไม่มีใครที่จะเอาเงินตัวเองมาทำวิจัยเพราะว่าทำเสร็จแล้วก็ไม่รู้จะเอาไปไหนหรือว่าเงินมันต้องมีพอที่จะทำงานวิจัยถ้าเรามีเงินน้อยเราก็ทำได้ในขอบเขตแคบๆ แต่ถ้าเรามีเงินมากขึ้นเราก็สามารถจะทำในงานที่ขอบเขตที่มันกว้างขึ้น หรือว่าทำในสิ่งที่มีเทคนิคซับซ้อนต้องใช้เงินเยอะ แล้วก็อาจจะต้องใช้งบประมาณหรือว่าใช้เครื่องมือที่มันแพงหรือว่าใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มันแพงๆ เพราะฉะนั้นแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญโดยทั่วไปแล้วหน่วยงานที่เราสังกัดอยู่เขาก็จะมีงบวิจัยอาหารอยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากหน่วยงานจะมีงบสนับสนุนก็จะมีหน่วยงานอื่นๆส่วนใหญ่ก็เป็นหน่วยงานระดับหน่วยราชการ ก็จะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัย ก็คือ วช. หรือไม่ก็สถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เราเรียกว่า สวทช. นอกจากนั้นก็ยังมีหน่วยงานอื่นก็คือหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่เขาอาจจะให้ข้อเสนอมาในการทำวิจัยในสิ่งที่เขาสนใจเราก็สามารถที่จะเข้าไปดูว่าเขาให้ งบประมาณด้านไหนบ้างหัวข้อไหนบ้างแล้วว่าอาจจะขอทุนจากเขาได้อีกแรงนึง หน่วยงานหน่วยงานสุดท้ายนี้เขาจะมีเงินเยอะค่ะก็คือหน่วยงานเอกชนเพราะว่าหน่วยงานเอกชนบางหน่วยงานเดี๋ยวเขาจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเทคนิคในการทำธุรกิจของเขาหรือว่าในโรงงานหรือว่าในภาคธุรกิจของเขา แต่ว่าเขาอาจจะไม่มีนักวิชาการที่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เขามีอยู่ได้เขาก็จะให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยที่สามารถที่จะทำให้เขาเพิ่มผลผลิตหรือว่าทำให้โรงงานของเขารู้ว่าภาคธุรกิจของเขามีเงินมาทำให้แล้วก็สามารถเอางานวิจัยนั้นไปใช้กับธุรกิจของเขาได้เราก็สามารถที่จะหางบประมาณหรือว่าหาผู้สนับสนุนงานวิจัย กับภาคธุรกิจหรือว่าภาคอุตสาหกรรมได้อีกแรงนึง ที่เป็นแหล่งที่มีงบประมาณเยอะๆ แล้วก็เราสามารถที่จะมีอยู่หลายหน่วยงานมาก ซึ่งอันนี้เราก็ต้องหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของเขาหรือว่าจากประกาศหรือว่าเราอาจจะดูได้จากประกาศที่เขาอาจจะส่งมาที่หน่วยงานของเราเอง
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์แหล่งทุนที่สนับสนุนเพื่อการวิจัย ตรงนี้เราจะแยกตามลักษณะของการเงิน ที่มาของแหล่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือแหล่งที่ให้เงินทุนก็คืองบประมาณแผ่นดินตรงนี้ จะเป็นทุนภายในภายนอกไม่รู้แต่ตรงนี้ใช้เงินที่เป็นงบประมาณแผ่นดินล้วนเลย ไม่ว่าจะหน่วยงานไหนๆ      อีกส่วนนึงก็จะเป็นเงินเอกชนอย่างเช่นได้จากสถานประกอบการ ได้จากภาคอุตสาหกรรมที่เข้าเป็นอุตสาหกรรมจริงๆ ไม่ใช่เป็นหน่วยงานรัฐที่ทำเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ส่วนอีกประเภทสุดท้ายนี้ก็คือรวมกันมีทั้งเงินหลวงมีทั้งเงินราษฎร์ ก็อย่างเช่นโครงการของ ITEP ที่แบ่งงบประมาณเป็น 50:50 ถ้าเราสามารถที่จะมีหน่วยงานที่เป็นสถานประกอบการให้ ITEP ก็จะเพิ่มให้เราได้ 20,000 50เปอร์เซ็นต์แรกก็มาจากเงินทุน และอีก 50 เปอร์เซ็นต์ก็มาจากสถานประกอบการที่ให้เราทำ 2 อย่างรวมกันเน้นลักษณะที่มาตรงนี้แต่ถ้าถามว่าการที่เราจะเอาผลของงานวิจัยแล้วเราไปใช้กับแหล่งทุนตรงนี้ถ้าพูดไปประโยชน์หรือการที่เขาติดตามผล ถ้าจะเทียบกันระดับนึงถ้าเป็นจากแหล่งทุนที่เป็นสถานประกอบการอันเนี้ยก็ต้องใช้ผลงานวิจัย 100 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนตรงนี้หรือจะเป็น ITEP สถานประกอบการพิจารณาเห็นว่าผลงานวิจัยก็ต้องเกิดประโยชน์จากเขาจริงๆ เขาถึงจะสนับสนุนและการสนับสนุนของสถาบันด้วย บางครั้งไม่จำเป็นต้องให้เป็นตัวเงิน เป็นวัสดุอุปกรณ์เครื่องมืออย่างนี้ก็ถือว่าเป็นทุนสนับสนุน อันนี้ประมาณนี้ส่วนถ้าเป็นสุดท้ายเงินหลวงอันนี้มีปัญหามากเลยสำหรับนักวิจัยที่ได้เงินหลวงเพราะว่างานวิจัยส่วนใหญ่มากจะถูกขึ้นหิ้งอย่างตอนนี้ระบบของมหาลัยก็พยายามต่อยอดเชิงพาณิชย์และให้เอาไปจดสิทธิบัตรบ้างหรือไม่ก็ตั้งเงื่อนไขให้เป็นเงื่อนไขของนักวิจัยว่าคุณต้องตีพิมพ์ให้อย่างไรคือมีการนำไปเผยแพร่
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์จุดรวบรวมแหล่งเงินทุน ที่ให้ทุนทุกๆ ปีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วงเวลาที่ให้ส่งข้อเสนอ ประเมินความยากง่ายในการให้ทุน จัดเตรียมข้อเสนอไว้ก่อนอย่างน้อย 2 ข้อเสนอ เมื่อมีการประกาศทุน ก็ทำการปรับให้ตรงเป้าหมายของแต่ละทุน เช่น วช. สวทช. สนช. ฯลฯ
 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลการพิจารณาการให้ทุน คณะกรรมการจะลองค้นหาชื่อเราในชื่อเรื่อง Web ปัจจุบันมีหลากหลายหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนซึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีนอกจากหน่วยงานของ ITEP งานของ วช. แล้วในปัจจุบันเริ่มมีการเขียนงานวิจัยเพื่อขอทุนจากโครงการ อพ.สธ.มากขึ้นโดยมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบในชุมชนเพื่อตอบสนองจากชุมชนอีกทั้งการขอทุนจากภายนอกยังมีอีกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ เช่น กลุ่มวิชาการเกษตรต่างๆ หรือหน่วยงานที่อยู่ในชุมชนสถาบันการศึกษาชุมชนก็มีส่วนในการที่จะให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยร่วมอีกทั้งการมีส่วนร่วมกับงานวิจัยกับสถานประกอบการที่เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยของนักวิจัยเองอาจมีส่วนร่วมในการวิจัยเช่นเดียวกัน

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  8/2560

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 16.00 น.

ณ  ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. ผศ.ดร.ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม     ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. ผศ.อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์               ตำแหน่ง  กรรมการ
  5. ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร                          ตำแหน่ง  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.เลอลักษณ์    เสถียรรัตน์           ตำแหน่ง  กรรมการ
  7. อาจารย์ณัฐชรัฐ      แพกุล                    ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  8. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล              ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ
  9. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                           ตำแหน่ง  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งให้คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้สรุปและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงเน้อหาคู่มือการจัดการองค์ความรู้ฯ ให้ครบถ้วน เที่ยงตรง และเข้าใจง่าย คนละ 3 นาที ดังนี้

 ผศ.ดร.สาคร  ชลสาครข้อเสนอโครงการวิจัยเป็นเอกสารรายงานแนวทางที่จะทำการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการอนุมัติงาบประมาณการวิจัย ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อโครงการวิจัย, ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา, วัตถุประสงค์, สมมติฐาน, ขอบเขตการวิจัย, กรอบแนวคิด, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ, การทบทวนวรรณกรรม, วิธีวิดำเนินการวิจัย, ระยะเวลาการวิจัย, งบประมาณการวิจัย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการพิจารณาอนุมัติทุนวิจัยให้แก่นักวิจัย
 ผศ.ดร.ศรีกาญจนา  จตุพัฒน์วโรดมการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนที่จะอนุมัติโครงการวิจัย โดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ชื่อโครงการ, วัตถุประสงค์, ความเป็นมาและความสำคัญ, ขอบเขตการวิจัย, สมมติฐาน, กรอบแนวคิดการวิจัย, การตรวจเอกสาร, วิธีดำเนินการวิจัย, แผนการดำเนินงาน, งบประมาณการวิจัย เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีต้องมีลักษณะน่าสนใจ มีวัตถุประสงค์ที่กระชับ มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ชัดเจน และมีขอบเขตการวิจัยที่เหมาะสมกับแผนระยะเวลาและงบประมาณการวิจัย
 ผศ.ดร.เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์การของบประมาณแผ่นดินหรืองบภายนอกอื่นๆ สามารถของบสนับสนุนการทำวิจัยได้จากหน่วยงานต่างๆ มากมายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อยื่นเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาทุนวิจัยนั้นๆ ซึ่งแหล่งทุนแต่ละที่จะมีงบประมาณและข้อจำกัดในการให้เงินทุนวิจัยที่แตกต่างกันไป และมีการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนทุนวิจัยที่แตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละสถานที่
 ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์เมื่อได้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยผู้วิจัยควรมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยที่ชัดเจน เพ่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดทำรูปเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ และสามารถปิดเล่มวิจัยได้ตามแผนการวิจัย โดยไม่ต้องขอขยายระยะเวลาศึกษาวิจัย
 ผศ.ดร.อรวัลภ์  อุปถัมภานนท์การจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ นักวิจัยควรมีการกำหนดแผนการวิจัยที่ชัดเจน โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมนักวิจัย และดำเนินการจัดหาข้อมูลเพื่อเขียน Pre-proposal โดยให้จัดตามรูปแบบที่แหล่งทุนกำหนด และนำไปเสนอต่อแหล่งทุน หลังจากนั้นให้รอฟังผลพิจารณาจากแหล่งทุนที่เสนอข้องบประมาณวิจัยไป ซึ่งหากข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านการพิจารณาจากแหล่งทุนนักวิจัยจะต้องไปดำเนินการทำสัญญากับผู้ให้งบประมาณวิจัย ส่วนข้อเสนอโรงการวิจัยที่ไม่ได้รับการพิจารณาจากแหล่งทุนที่เสนอขอไปในเบื้องต้น นักวิจัยควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อเสนอโครงการวิจัยให้ดีขึ้นและดำเนินการหาแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป โดยส่วนใหญ่สาเหตุที่นักวิจัยไม่ได้รับการพิจารณาให้ทุนเนื่องจากหัวข้องานวิจัยไม่ตรงตามที่แหล่งทุนกำหนด งานที่ทำมีความใหม่ไม่พอ และการเขียนบทนำไม่เพียงพอทำให้ไม่เห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยได้ ผู้ให้ทุนก็นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้ทุนนักวิจัย และการเขียนงบประมาณไม่เหมาะสม มากเกินผลที่จะได้รับแหล่งทุนก็มักจะนำมาพิจารณาในการอนุมัติให้งบประมาณวิจัย
 อาจารย์ณัฐชรัฐ  แพกุลการเขียนข้อเสนอวิจัยเพื่อของบสนับสนุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกเหตุผลส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับทุนเกิดจากการเขียนข้อเสนอที่ไม่กระจ่างและชัดเจนของนักวิจัย รวมไปถึงการเขียนถึงผลที่ไม่ได้น่าสนใจ แหล่งทุนก็มักจะไม่อนุมัติให้ทุนวิจัย ดังนั้นนักวิจัยจึงควรเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ดี โดยการคำนึงถึงโจทย์วิจัยที่ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กระชับ สามารถทำได้จริง และมีระเบียบขั้นตอนการวิจัยที่มีความละเอียดเป็นขั้นเป็นตอน มีการสืบค้นผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่แหล่งทุนวิจัยจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติเงินทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยต่อไป

เลิกประชุมเวลา     18.00 น.     

การจัดการองค์ความรู้ด้านการวิจัย 2561

เรื่อง เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อของบประมาณแผ่นดินและงบภายนอกอื่นๆ

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  1/2561

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 12.00 น.

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นะ และสำหรับตัวนักวิจัยเองพูดในฐานะนักวิจัย นักวิจัยจะต้องเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย แล้วเนี่ยให้กำหนดเวลา กำหนดวัตถุประสงค์ก่อนให้มันสอดคล้องกัน แล้วอีกอย่างนักวิจัยจะต้องมีการบริหารจัดการเวลาของตนเองในการทำวิจัยให้ดี เพื่อจะได้ไม่เจอปัญหาในการทำงานวิจัยอีกในภายหลัง

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

เมื่อได้งบประมาณมาก็มาทำตารางแผนการดำเนินงาน และการใช้จ่ายงบประมาณ จัดแฟ้มเอกสารที่ต้องใช้ตามระยะเวลาที่ต้องเบิกจ่าย ฝ่ายวิจัยมีการประชุมติดตามการดำเนินการวิจัยก่อนถึงกำหนดเบิกงวดต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยดำเนินการให้เขียนเป็นระยะเวลา ซึ่งจะทำให้นักวิจัยสามารถปิดโครงการวิจัยได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

ในส่วนของงานการเงินมีความเห็นว่าการอธิบายให้นักวิจัยเข้าใจการกรอกแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินและการเขียนรายงานการใช้จ่ายเงินที่ถูกต้องจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการทำรายงานความก้าวหน้าล่าช้าและการส่งเบิกเงินล่าช้าของนักวิจัยได้

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการและวิจัย มีการจัดทำประกาศเพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งนักวิจัย เกี่ยวกับขั้นตอน และการกำหนดระยะเวลาในการเบิกจ่ายแต่ละงวด และได้ทำสำเนาเอกสารแจกในที่ประชุมคณาจารย์ของคณะ การนำเข้าวาระที่ประชุมกรรมการคณะ สำหรับให้หัวหน้าสาขาช่วยกำกับติดตาม เพื่อลดปัญหาการทำวิจัยเสร็จล่าช้าของนักวิจัย

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

 

 

 

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  2/2561

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 12.00 น.

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การกำหนดแผนการดำเนินงานของนักวิจัย โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

การกำหนดเวลา ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเนี่ยคุณจะต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานมาประกอบการกำหนดวัตถุประสงค์ ปกติแล้วโครงการวิจัยที่เราเสนอผ่านในส่วนของหน่วยงานส่วนใหญ่จะกำหนดเวลาขั้นต้นคือปีเดียวถูกไหมคะ แล้วนักวิจัยทุกคนต้องตระหนักถึงวัตถุประสงค์และต้องเขียนแผนขึ้นมา ถ้าเราสามารถกำหนดแผนได้แล้ว ก็จะมีข้อมูลที่ support การกำหนดวัตถุประสงค์และมันอาจจะเป็นไปได้ที่จะทำงานวิจัยเสร็จตามกำหนดเวลาที่กำหนด ถูกไหมคะในส่วนตรงนี้เนี่ยเพราะจริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญก็คือต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดให้ในข้อเสนอแนะอันนี้ง่ายๆเลยเป็น Common Sense เลย

ต่อมาก็คือกำหนดแผนนะคะ การกำหนดแผนในประเด็นของการกำหนดแผนดำเนินงานของนักวิจัยก่อนที่จะกำหนดเขียนมาเป็นแผน ต้องเอาข้อมูลที่ศึกษา support มีรายละเอียดเพียงพอต้องไปศึกษาขั้นตอนนี้จะต้องเก็บผลิตผลตรงนี้เพื่อมาเป็น outsource เช่น คุณต้องดูว่าระยะเวลาที่คุณจะไปเก็บข้อมูลมาเนี่ยมันสอดคล้องกับแผนไหม อย่างนี้ถ้าคุณไม่ได้ไปเอากล้วยมาแยกใย ต้องดูระยะเวลาว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ ขั้นตอนเนี่ยมันก็มีผลมาถึงให้นักวิจัยต้องขยายเวลาเพราะทำไม่ได้ตามแผน ถ้าโครงการที่มันเป็นแบบที่มันต้องใช้ทรัพยากรที่มันต้องอาศัยระยะเวลา เช่น ถ้าพวกคุณหาตรงนี้ไม่ได้ขั้นต่อไปของการดำเนินตามแผนมันก็ทำไม่ได้หรอกนะแต่มันทำไม่ได้อยากจะบอกว่า มันเป็นข้ออ้างถูกไหมคะ ถ้าเป็นข้ออ้างแล้วก็แบบว่าเมื่อถึงเวลาเบิกงวด 2 ละงวด 1 นี้ยังไม่ได้ทำอะไร มันก็จะเป็นข้ออ้างต่อไป แต่ว่าการกำหนดแผนก็คือสรุปง่ายๆ คือคุณต้องไปหาข้อมูลมา support ให้เพียงพอกับงานที่คุณกำหนดไว้ในแผน ถ้าได้ตรงนี้มามันก็สามารถรันตามได้

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

เมื่อนักวิจัยได้กำหนดแผนการดำเนินงานวิจัยและงบประมาณได้ถูกส่งมายังคณะ คณะจะกำหนดการเบิกจ่ายเป็น 3 งวด โดยกำหนดงวดสุดท้ายเป็นเงินค่าตอบแทนนักวิจัย ตามแบบ วจ.1 การกำหนดแผนการดำเนินงานวิจัย นักวิจัยควรกำหนดขั้นตอนการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยและควรมีการตั้งรายการเบิกจ่ายเงินและวงเงินประมาณค่าใช้จ่ายให้มีความสอดคล้องกับขั้นตอนการวิจัยที่นักวิจัยดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามแผน

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

การกำหนดแผนการดำเนินงานของนักวิจัย ในส่วนของการเงินก็อยากให้นักวิจัยให้ความสนใจในเรื่องของการกำหนดแผนการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกันกับกระบวนการเบิกจ่ายเงินที่มีการแบ่งออกเป็น 3 งวด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการบริหารเงินในการนำมาใช้ในการจัดซื้อวัสดุหรือวัตถุดิบการวิจัย ซึ่งจะช่วยลดความติดขัดในการบริหารงานกระบวนการศึกษาวิจัยของนักวิจัยได้ ทำให้นักวิจัยมีค่าใช้จ่ายในการบริหารงานวิจัยได้ตลอดระยะเวลาการศึกษาวิจัย

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

การกำหนดแผนการดำเนินงานของนักวิจัย ในส่วนงานของเจ้าหน้าฝ่ายวิจัยจะมีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูล ความถูกต้องในการเขียนแผนการดำเนินงาน และการทำบันทึกส่งสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นักวิจัยได้ดำเนินการวิจัยในขั้นต่อไป

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  3/2561

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2561 เวลา 12.00 น.

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การกำหนดแผนการตรวจติดตามงานวิจัย โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

การกำหนดแผนการตรวจติดตามงานวิจัย คือตรงเนี้ยการติดตามไม่ใช่นักวิจัยกำหนดด้วยซ้ำไป ซึ่งทางฝ่ายวิชาการจะเป็นคนกำหนดระยะเวลาเช่นวันนี้เริ่มเบิกได้ถูกไหมคะแล้วก็อะไรนะอันนี้ต้องเคลียร์เบิกเงินงวด 2 ส่วนใหญ่เราจะกำหนดให้สิ่งที่นักวิจัยจะต้องทำก็คือดำเนินการให้ได้ตามแผนที่ฝ่ายเป็นผู้กำหนดถูกไหมคะแค่นี้ก็ว่าจะดูเลยว่าระยะเวลานี้มันมีมันมีแนวทางของมัน เช่น เบิกงวดแรกภายในครึ่งปีของปีนี้ คุณก็ต้องทำงวดแรกให้เสร็จถูกไหมแล้วก็เริ่มงวด 2 ได้ จะปิดโครงการหรือเบิกเงินงวดสุดท้ายต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ถูกไหมคะไม่ใช่เบิกงวด 2 และอีกต่อไปปิดโครงการเพิ่มเป็นสิ่งที่กำหนดติดตามนักวิจัยเนี่ยไม่ได้เป็นคนกำหนดเลยนะคะ ทางฝ่ายมีเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ศึกษาแล้วก็ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่กำหนดเพราะมันควบคุมโดยฝ่ายด้วยการเงินด้วยถูกไหมคะ เขาจะต้องเคลียร์และรายงานไม่เห็น ตัวคนติดตามเนี่ยตามแผนฝ่ายวิชาการวิจัยเป็นผู้ดำเนินการอยู่ในการประสานกับการเงินของคณะเรื่องการเบิกจ่ายแต่นักวิจัยเองนั่นแหละที่จะต้อง concentrate ตัวเองทำเนินการให้ได้ตามแผนไหมคะที่ผ่านมาเราถามว่าคณะเป็นยังไงคะเนี่ยพูดถึงว่าต้องถามว่าเปอร์เซ็นต์ของการที่นักวิจัยขยายเวลาเนี่ยเราต้องไปดูสถิติเพื่อพัฒนามันอาจจะทุกวันทุกปีที่มันติดตามสูงสุดแต่ถามว่ามันมีนะพี่ปีไหนที่ว่านักวิจัย 100% ไม่ขยายเวลาไม่มีค่ะ คณะเราเนี่ยเคยมีแบบว่าที่อื่นเขาให้รางวัลเลยนะคนที่ไม่ขยายเวลาถูกไหมคะแต่คนที่ขยายเวลาเนี่ยคือมันจะมีผลกระทบกับการประเมินด้วยแต่เขาไม่สนใจไม่สนใจไหมคะถ้าเขาใส่ใจตรงนี้หน่อยส่วนใหญ่ก็จะอ้างแบบภาระงานเยอะอะไรอย่างนี้ก็เลยไม่เป็นไปตามนั้นถามว่ามันก็มีผลต่อคุณภาพงานวิจัยของคณะ

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

ฝ่ายวิจัยทำการติดตามการเบิกจ่ายของนักวิจัย โดยนำแผนการเบิกจ่ายที่คณะมากำหนดเป็นแผนของแผนวิจัย โดยมีการกำหนดแผนการตรวจติดตามก่อนกำหนดการเบิกจ่ายเงินในงวดต่อไปเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อให้นักวิจัยดำเนินการจัดทำเอกสารเพื่อรายงานความก้าวหน้า และขออนุมัติเบิกเงินวิจัยในงวดต่อไป ซึ่งโดยปกติจะมีกำหนดการให้นักวิจัยส่งรายงานความก้าวหน้าและดำเนินการเบิกจ่ายงวดที่ 2 ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี ดังนั้นฝ่ายวิจัยก็จะมีหน้าที่ในการติดตามงานวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในแต่ละปี เพื่อให้นักวิจัยสามารถดำเนินการวิจัยให้เสร็จได้ตามเวาที่กำหนด

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

ในฝ่ายการเงินจะทำหน้าที่ในการตรวจติดตามแผนการเบิกจ่ายเงินของนักวิจัยว่าเป็นไปตามงบประมาณที่วางไว้ในแต่ละส่วนหรือไม่ และทำการตรวจเช็คงบประมาณคงเลือในแต่ละหมวด รวมถึงการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของนักวิจัยในแต่ละงวดว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ เพื่อให้นักวิจัยสามารถดำเนินการไปได้ตามกระบวนการที่วางไว้

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

ฝ่ายวิจัยได้จัดทำประกาศกำหนดการดำเนินโครงการวิจัยที่ได้รับจัดสรรงบประมาณให้นักวิจัยได้เข้ามาศึกษาข้อมูล โดยในประกาศจะแจ้งขั้นตอนการดำเนินโครงการวิจัยให้นักวิจัยได้รับทราบ ตั้งแต่ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการวิจัย รวมไปถึงขั้นตอนการขออนุมัติเบิกเงินทั้ง 3 งวด เพื่อให้นักวิจัยได้รู้กำหนดการที่แน่นอนในการดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนต่างๆ ให้เป็นไปตามแผน

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

                             รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  4/2561

วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 เวลา 12.00 น.

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การเขียนรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

การเขียนรายงานความก้าวหน้าก็เป็นส่วนหนึ่งที่นักวิจัยจะต้องนำผลที่ทำตามแผนใส่ในรายงานความก้าวหน้า ในการติดตามว่านักวิจัยสามารถดำเนินการได้ตามแผนไหมรายงานความก้าวหน้ามันจะต้องส่งพร้อมกับการเบิกเงินงวดที่ 2 การเบิกเงินงวดที่ 2 เนี่ยมันมีระยะเวลาตามที่กำหนดอย่างน้อยก็ผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่งของระยะเวลาทำวิจัย 6 เดือน มันจะทำให้นักวิจัยรู้ได้ล่วงหน้าเลยถูกไหมคะว่าคุณเนี่ยถ้าคุณยังไม่เริ่มงานวิจัยนี้มีสิทธิ์ไม่สามารถทำงานวิจัยไม่ทัน เราต้องรู้เลยว่าพอถึงเวลาแล้วการเงินคอยกระตุ้น เช่น วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นวันสุดท้ายของการส่งเบิกงวดที่ 2 เราจะมีป้ายบอกเลยนะคะทุกปีเราจะปรับเวลาว่างวดที่ 1 ส่งไปทางนี้ไม่เกินเท่านี้งวดที่ 2 ใช่ไหมมันจะมีเป็น process ของงานวิจัยที่กำหนดไว้ชัดเจน ปีนี้งบประมาณจะบอกเลยว่าเขียนขออนุมัติเบิกเงินไม่เกินเท่าไหร่ถึงจะเบิกเงินหลังจากอนุมัติแล้วระยะเวลาที่มีเบิกเงินงวดที่ 2 จนถึงงวดสุดท้ายเนี่ยเพราะฉะนั้นจริงๆรายงานความก้าวหน้ามันเป็นสัญญาณเตือนคุณไว้ครึ่งนึงละ อันนี้ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาก็เราก็ต้องคอยกระตุ้นเพราะฉะนั้นถ้าคุณทำไม่ได้ตามแผนรายงานความก้าวหน้ามันก็เป็นเหมือนการที่มันเขียนแล้วไม่ได้เป็นตามแผนข้อมูลที่สะเทือนคือมันต้องมีสิ่งที่คุณจะรายงานอีกไหมเพราะว่าการเบิกเงินเป็นงวดแรกเนี่ยถ้าเป็นมหาลัย 50% ถูกไหมคะ 50% งวดแรกเนี่ยคุณต้องซื้อวัสดุ ต้องอะไรต่ออะไรถูกไหมคะถ้าคุณยังทำไมคุณก็เคลียร์เงินงวด 2 ไม่ได้เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วเนี่ยไม่ต้องไปถามว่ามีอะไรกระตุ้นหรอก ถ้าคุณทำตามแผนที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่ามันจะเสร็จหลังจากที่มันมีข้อมูลมา support แล้วถูกไหมมันก็ไม่เห็นจะต้องมานั่งกังวลกับเรื่องของรายงานอีกไหมคะตรงนี้มันก็เป็นไปตามว่าถ้าคุณรายงานความก้าวหน้าคุณเบิกเงินไปครึ่งนึงแล้วคุณรายงานความก้าวหน้าและคุณใช้เงินไม่หมดตรงนี้มันก็ผิดปกติและถูกไหมแต่มันมีนะบางคนผ่านไปแล้วยังไม่เริ่มเลยประมาณนี้ มันก็เกิดเป็นโดมิโนสรุปแล้วจริงๆ การดำเนินงานให้เสร็จภายใน 1 ปีเนี่ยนักวิจัยเป็นสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้วถูกไหมคะว่าปีนี้จะเสร็จหรือไม่เสร็จหัวข้อก็ต้องทำใน 1 ปีไม่มีงานวิจัยไหนที่กำหนดว่าให้ทำได้ 2 ปีถูกไหมคะคุณก็รู้อยู่แก่ใจว่าขยายเวลาได้อีก 1 ปีและนักวิจัยคิดเองว่าฉันมีเวลาทำวิจัยใน 2 ปี ถ้าคิดแบบนี้มันก็จะมีปัญหาเรื่องขยายเวลาเพราะว่าเราไม่มีงานวิจัยไหนกำหนดนอกจากได้งานวิจัยที่ใช้ระยะมากกว่า 3 ปี แต่การขออนุมัติก็จะขอเป็นปีปี ปีที่ 2 ก็ขอต่อคุณจะได้ต่อหรือไม่ก็จะไม่รู้เราไม่เคยมีนะงานวิจัยประเภทนี้นะของคณะ 2 ปี 3 ปี ไม่ใช่ปีที่ 2 อัตโนมัตินะ Impact ไม่มีในปีที่ 1 เขาก็อาจจะมีให้เวลาของงานวิจัยที่จริงถ้าเราทำภายใต้งบก็คือปีเดียว แต่นักวิจัยคิดว่าหนึ่งฉันมีเวลาขยายได้อีก 1 ปีหรือไม่ก็เลยทำเหมือนมันเป็น 2 ปีโอเคไหมคะในลักษณะนี้ไม่มีเงินนะส่วนใหญ่แล้วคนที่ทำเสร็จภายใน 1 ปีมันก็เป็นสิ่งที่ดีนะ

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

เดียวนี้เรามีการตั้งกลุ่มไลน์วิจัย และมีหัวหน้าแผนกวิจัยวิจัยและเจ้าหน้าที่ในการช่วยกันตอบคำถามเกี่ยวกับการเขียนรายงานความก้าวหน้าและการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ในการจัดทำเอกสารรายงานความก้าวหน้าและขอเบิกเงินงวดต่อไป หรือการตอบคำถามที่เกี่ยวกับการทำวิจัยอื่นๆ เพื่อให้นักวิจัยมีความเข้าใจในการเขียนรายงานความก้าวหน้าที่ถูกต้อง เนื่องจากในเอกสารรายงานความก้าวหน้ามีเนื้อหาที่นักวิจัยต้องรายงานจำนวนทั้งสิ้น 2 หัวข้อใหญ่ โดยหัวข้อสำคัญที่นักวิจัยจะต้องรายงานให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการวิจัย จะเป็นหัวข้อรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้าของการวิจัย ที่จะต้องแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานตามแผนการวิจัยที่ได้เสนอไว้และการดำเนินการจริง รวมไปถึงผลการดำเนินงานที่ได้ทำไปในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งจะมีนักวิจัยบางส่วนไม่เข้าใจในการเขียนรายงานในส่วนนี้ฝ่ายวิจัยก็จะมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและแนะนำนักวิจัยในการกรอกข้อมูลในส่วนนี้

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

การเขียนรายงานความก้าวหน้าของโครงการส่วนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินก็จะมีการเขียนค่าใช้จ่ายลงในรายงานความก้าวหน้าจะเป็นค่าใช้จ่ายทุกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงปัจจุบันรวมค่าสาธารณูปโภคด้วย

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

ฝ่ายวิจัยก็จะทำหน้าที่ในการดูแบบฟอร์ม กำกับ ติดตาม และแจ้งให้นักวิจัยได้ทราบกำหนดการจัดส่งรายงานความก้าวหน้า แล้วก็เช็คความถูกต้อง ครบถ้วนของรายงานก่อนนำส่งการเงินให้กับนักวิจัยบางท่านที่ยังไม่ค่อยมีความเข้าใจในการจัดทำรายงาน เพื่อความสะดวกในการทำงานวิจัยของอาจารย์ทุกท่าน

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  5/2561

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 16.00 น.

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  16.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การพัฒนากระบวนการเพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยดำเนินการวิจัยได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

กระบวนการเพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยดำเนินการได้ตามกำหนดระยะเวลา  ในฐานะที่เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยนะคะเราให้การสนับสนุนอยู่แล้ว โดยการประสานงานกับทางการเงินให้เบิกเงินได้รวดเร็วถูกไหมคะ ซึ่งตรงนี้ก็บางส่วนก็ไปถึงมหาลัย สนับสนุนแม้แต่การกำหนดระยะเวลาทำยังไงให้มันเสร็จภายในเวลาที่กำหนด อำนวยความสะดวกเรื่องแบบฟอร์มเรื่องอะไรคุณจะเอา เราทำอยู่แล้วตรงนี้นะมันมีกระบวนการมีระบบชัดเจนแล้ว มีเจ้าหน้าที่คอยเตือนคอยติดตามและคอยให้ความสะดวกแก่นักวิจัย

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

แผนกวิจัยแจ้งกำหนดการรายงานความก้าวหน้าในการกำหนดแผนการเบิกจ่ายและกระตุ้นให้นักวิจัยทราบในช่องทางต่างๆ เช่น ในไลน์กลุ่มวิจัย เพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานให้ได้ตามระยะเวลาการดำเนินการวิจัยในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้การดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่นักวิจัยกำหนดไว้ แต่ก็จะมีบางโครงการวิจัยที่นักวิจัยไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนกิจกรรมที่ตั้งไว้ เนื่องจากช่วงเวลาที่กำหนดกิจกรรมไว้วัตถุดิบการวิจัยไม่มีความพร้อมหรือขาดตลาด รวมไปถึงผลกระทบอื่นๆจากภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้นักวิจันสามารถดำเนินการวิจัยในช่วงเวลานั้นๆได้ ดังนั้นนักวิจัยจะต้องมีการวางแผนการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดการของแต่ละกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่สามารถดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามแผนได้

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

ในการกระบวนการสนับสนุนให้นักวิจัยสามารถดำเนินการวิจัยได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ฝ่ายการเงินจะมีการแจ้งเตือนให้นักวิจัยทราบกำหนดการรายงานความก้าวหน้า และเบิกจ่ายเงินก่อนถึงระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อย 1 เดือน และมีการเร่งกำกับติดตามเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ที่นักวิจัยต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยได้รู้กำหนดการที่ต้องส่งงานในช่วงระยะเวลาต่างๆ

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

กระบวนการสนับสนุนให้นักวิจัยดำเนินการวิจัยได้ตามระยะเวลาที่กำหนดสำหรับฝ่ายวิจัยจะมีการรวบรวมแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำวิจัยให้อาจารย์และนักวิจัยทุกคนได้นำมาใช้ในกระบวนการวิจัย ซี่งแบบฟอร์มเหล่านี้จะจัดไว้ในลิ้นชักตู้เหล็กที่วางไว้บริเวณหน้าห้องรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และมีการจัดวางประกาศกำหนดการจัดส่งรายงานและรายงานความก้าวหน้าให้นักวิจัยได้ทราบในบริเวณสถานที่ต่างๆ เช่น บริเวณโต๊ะลงชื่อปฏิบัติงานและเค้าเตอร์ห้องการเงิน

เลิกประชุมเวลา     17.30 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  6/2561

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 12.00 น. 

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง กระบวนการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนการวิจัย โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

กระบวนการเบิกจ่ายเขาก็มีการเงินก็จะเช็คความถูกต้องของใบเสร็จ เป็นการสนับสนุนงานวิจัย แล้วก็กำหนดให้มีการอำนวยความสะดวกเรื่องการตรวจสอบใบเสร็จมีข้อแนะนำอะไรเบิกได้เบิกไม่ตรงหรืออะไรประมาณนี้เขาก็จะช่วยเหลืออยู่แล้วโดยมีฝ่ายการเงินเป็นผู้ประสานกับสอดคล้องกัน

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

นักวิจัยมีภาระงานหลายอย่าง บางครั้งจะลืมและไม่เข้าใจกระบวนการเบิกจ่ายเงินในการทำวิจัย โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยใหม่ ที่ยังไม่เข้าใจการกรอกรายละเอียดแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเบิกจ่าย ดังนั้นจึงมีการกำหนดนักวิจัยเดิมที่มีความเข้าใจในการเบิกจ่ายมาช่วยดูแลนักวิจัยที่ยังไม่เข้าใจนเรื่องแบบฟอร์มต่างๆ แล้วในแผนกวิจัยก็จะช่วยให้การสนับสนุนให้คำปรึกษาในการจัดทำแบบฟอร์มการเงินต่างๆ และแจ้งให้นักวิจัยได้ทราบถึงกระบวนการเบิกจ่ายเงินในขั้นตอนต่างๆด้วย

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

กระบวนการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนการวิจัยในส่วนของการเงินจะมีกระบวนการเบิกจ่ายเงินงวดที่ 1 งวดที่ 1 เริ่มต้นการเบิกจ่ายเราจะเริ่มต้นโดยเราจะให้อาจารย์ขออนุมัติโครงการเสร็จแล้วก็เราจะรวบรวมขออนุมัติโครงการกับคณบดีและรวบรวมเพื่อเบิกจ่ายเงินจากกองคลังเอามาเก็บไว้ที่คณะหลังจากนั้นก็ให้เบิกเงินงวดที่ 1 ออกไปและคณะจะกำหนดกระบวนการเบิกจ่ายโดยฝ่ายวิชาการจะกำหนดขั้นตอนไว้ว่าให้เบิกเงินงวด 2 เมื่อไหร่ละงวด 3 เมื่อไหร่ส่วนเรื่องของการเงิน คอยติดตามว่าให้เบิกเงินงวดที่ 1 ครบกำหนดไปแล้วให้มาเคลียร์งวดที่ 1 เพื่อมาเบิกเงินงวดที่ 2 ตามจำนวนของฝ่ายวิชาการหากใครเบิกจ่ายไม่ทันก็ให้บันทึกรายงานตามสายงานมาว่าทำไมเหตุใดถึงจะเบิกเงินไม่ทันตามกำหนดและกระบวนการขั้นตอนสุดท้ายในการเบิกจ่ายเงินก็คืองวดสุดท้ายก็จะมีการส่งเล่มและก็สรุปค่าใช้จ่ายและส่งเล่มที่แผนกการเงิน ซึ่งจะขอทั้งหมด 3 เล่ม พร้อมซีดี 3 แผ่น

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยก็จะช่วยสนับสนุนนักวิจัยโดยการจัดเตรียมแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินให้นักวิจัยสามารถนำมากรอกข้อมูลได้อย่างสะดวกเพื่อนำมาใช้ส่งแผนกการเงินในการรายงานความก้าวหน้าเพื่อเบิกจ่ายเงินในแต่ละงวด รวมทั้งการจัดทำ วจ.1 ซึ่งทางฝ่ายจะรวบรวมเอกสารต่างๆ ไว้ในตู้หน้าห้องรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และนำไปแขวนไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของคณะซึ่งเป็นไฟล์ word เพื่อให้นักวิจัยสามารถกรอกแบบฟอร์มได้อย่างสะดวก

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  7/2561

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562  เวลา 12.00 น. 

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง ปัญหาในการดำเนินโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

สรุปปัญหาในการดำเนินโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดพูดได้อย่างเดียวเลยคือตัวนักวิจัยเองที่จะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมมีระบบการจัดการของตัวเองที่ดีไหมคะที่จะทำอย่างที่บอกว่าเงินเยอะๆรายได้ปีนึง คุณก็ได้เงินครบแล้วแต่ปัญหามันไม่ได้เกิดกับคนที่ได้เงินเยอะปัญหามันเกิดจากการที่ได้เงินน้อยที่ขยายเวลาพิจารณาของความสูญเสียปัญหาเสี่ยงมันเสี่ยงกับกลุ่มงานตรงนี้แหละถูกไหมคะคุณได้เงินน้อยจริงแต่ถ้าคุณรีบทำให้มันเสร็จปีต่อไปคุณก็ขายได้แล้วก็สำคัญคณะไม่ได้จำกัดกับมีสิ่งตรงนี้ที่จริงถ้าเรามีนโยบายกระบวนการแก้ปัญหาการขยายเวลาติดต่อมาให้ได้ เพื่อจะให้มีผลงานวิจัยเข้าไปเป็นหัวหน้าแทนเข้าคู่วิธีแก้ปัญหาตรงนี้มันคือตัวนักวิจัยเองและคณะก็อาจจะหามาตรการบางอย่างถามว่าไปให้เขาก็เขามีงานวิจัยก็ไม่ได้เห็นความสำคัญหรอกว่าเงินมันน้อยแต่ถ้าเป็นนักวิจัยอย่างที่บอกว่าอยากได้เงินเยอะๆอย่างนี้ถูกไหมคะเขาบริหารจัดการเองเพื่อปีต่อไปเขาจะปิดระบบ NRMS ด้วยถ้าเขาไม่รายงานในปี ตัวเขาก็ติดแบล็คลิสอะไรมีกระบวนการทุกอย่างนะคะเช่นติดกัน 2 โครงการเขาตัดออกเลย หรือว่า 1 โครงการขยายอีก 1 ปีมันสิ้นสุดแค่นั้นใช่ไหม 1 ปี 2 ปีหมดแล้วคุณยังไม่ส่วนใหญ่นักวิจัยจะไม่ยอมเสียชื่อถึงปีที่ 2 ก็จะต้องทำให้เสร็จภายในระหว่างปีที่ 2

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่นักวิจัยทำวิจัยไม่อาจจะมาผลมาจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ศึกษาวิจัยขาดแคลน มีไม่เพียงพอสำหรับการนำมาใช้ศึกษาวิจัย หรือวัตถุดิบนั้นออกมาเป็นฤดูกาล ไม่สามารถหาได้ตลอดทั้งปี ซึ่งนักวิจัยของคณะเราส่วนใหญ่จะวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ แล้วก็จะมีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนวัตถุดิบที่ต้องนำมาใช้หรือการเก็บวัตถุดิบไว้ไม่เพียงพอแล้วทำให้ไม่สามารถทำการทดลองต่อไปได้ ดังนั้นจึงคิดว่าควรมีการให้ความรู้และแนะนำนักวิจัยในเรื่องของการจัดเตรียมวัตถุดิบที่ต้องนำมาใช้ในการวิจัยให้เพียงพอไม่ใช่การจัดเตรียมเพื่อนำมาใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น เพราะมันจะทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

ปัญหาในการดำเนินงานวิจัยให้แล้วเสร็จตามกำหนดในส่วนของการเงินปัญหาเกิดขึ้นเท่าที่ได้รับฟังจากอาจารย์ก็คืออาจจะติดปัญหาที่ผลแลปที่เสร็จไม่ทันตามกำหนด เครื่องมือแลปมีคิวรอทดสอบยาวทำให้ต้องรอคิวส่งแลปนาน และก็ทำวิจัยไม่เสร็จอย่างนี้ก็จะทำให้กระบวนการเบิกจ่ายงานวิจัยงวดสุดท้ายไม่แล้วเสร็จ แล้วก็อีกปัญหาหนึ่งก็คืออาจารย์ยังไม่ได้เบิกเงินงวดที่ 2 เลยก็จะทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ในกระบวนการขั้นต่อไป

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

จากสถิติที่พบในการติดตามการดำเนินโครงการวิจัยของอาจารย์ในคณะ พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาจัดการเรื่องเอกสาร การเบิกจ่าย หรือลืมขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อ จัดจ้าง อาจมาจากภาระงานของอาจารย์ด้านอื่นๆ ที่มากขึ้น ทำให้การดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานวิจัยคลาดเคลื่อน เมื่อถึงเวลาที่ต้องรายงานความก้าวหน้าก็ยังไม่มีข้อมูลทำให้การดำเนินการวิจัยคลาดเคลื่อนไปเรื่อย นี่ก็อาจเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้งานวิจัยไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     

รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (ด้านการวิจัย)

ครั้งที่  8/2561

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2562  เวลา 12.00 น. 

ณ ห้องเรียน HET 2102 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

รายชื่อผู้มาประชุม

  1. ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์              ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ
  2. ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์                     ตำแหน่ง  กรรมการ
  3. น.ส.ศิริญญา ทองพูล                      ตำแหน่ง  กรรมการ
  4. น.ส.วนาพร ฤกษ์จำรัส                  ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน
  5. อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม (เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   –

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขคู่มือการจัดการองค์ความรู้ (ด้านการวิจัย) โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที ดังนี้

 

ผศ.ดร.อ้อยทิพย์  ผู้พัฒน์

เล่มคู่มือนี้มีเนื้อหาครบถ้วนดี แต่ควรตรวจสอบคำผิดและการจัดวางเนื้อหาอีกนิดหน่อย ที่เหลือก็โอเคดี มีการวางเนื้อหาที่อาจารย์เขาสามารถเอาไปใช้งานได้จริง

 

ผศ.ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

ควรเพิ่มเนื้อหาการรายงานความก้าวหน้า แล้วก็อธิบายการนำเอกสารเบิกเงินมาใช้ประกอบการเบิกจ่ายแต่ละขั้นตอนด้วย และการเผยแพร่คู่มือน่าจะทำให้เป็นรูปแบบ E-Book เผยแพร่ตามช่วงทางออนไลน์ต่างๆ เพราะคนเดียวนี้ชอบอ่านหนังสือในโทรศัพท์มากกว่าการถือหนังสืออ่านเป็นเล่ม

 

นางสาววนาพร  ฤกษ์จำรัส

อธิบายการใช้เอกสารประกอบการเบิกเงินในแต่ละหมวดเพิ่มเติมในเล่มคู่มือฯ เพราะจะช่วยให้นักวิจัยได้เข้าใจการจัดเตรียมเอกสารสำหรับการเบิกเงินแต่ละหมวดได้เป็นอย่างดี

 

นางสาวศิริญญา  ทองพูล

ควรเพิ่ม Link สำหรับดาวน์โหลดเอกสารประกอบการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก แล้วมีการประชาสัมพันธ์ให้นักวิจัยได้ทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

เลิกประชุมเวลา     14.00 น.     


รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต)

ครั้งที่  1/2562

                                            วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 เวลา 12.00 น.

ณ  ห้อง Smart Classroom อาคาร 1 ชั้น 3

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายชื่อผู้มาประชุม

1.       อาจารย์โสภิดา        วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ

2.       อาจารย์วราภรณ์     บันเล็งลอย                 ตำแหน่ง  กรรมการ

3.       อาจารย์วิจิตร         สนหอม                    ตำแหน่ง  กรรมการ

4.       อาจารย์อรุณวรรณ   อรรถธรรม                 ตำแหน่ง  กรรมการ

5.       อาจารย์วราภรณ์     ตรีมงคล                    ตำแหน่ง  กรรมการ

6.       อาจารย์กฤติน        ชุมแก้ว                     ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน

7.       นางศิริพร             เจริญศรีวิริยะกุล           ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม
(เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   ไม่มี

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการจัดการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการแก่สังคมและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที
ดังนี้

 

อาจารย์วราภรณ์ บันเล็งลอย

แนวทางปฏิบัติของสาขาฯต่อการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการแก่สังคม
และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
นั้นสาขาฯให้ความสำคัญโดยทุกครั้งที่มีการบริการวิชาการจะฝึกนักศึกษาในชั่วโมงเรียนให้ฝึกปฏิบัติงานที่ใช้สอนงานบริการวิชาการ
โดยสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาเรีน เกิดการเรียนู้แบบร่วมกันคิด
ร่วมตัดสินใจและร่วมลงมือกระทำอย่างเข้มแข็ง

 

 

อาจารย์วิจิตร สนหอม    

สาขาวิชาศิลปประดิษฐ์ในงานคหกรรมศาสตร์
เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการงานบ้านงานเรือน
เป็นสิ่งที่มนุษย์เราใช้อยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวันจึงเป็นเรื่องงายที่จะมีการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อได้   
จะเห็นได้ว่าจากการนำความรู้และผลงานไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน
ซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความโดดเด่นนั้น  จึงเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถนำมาบูรณาการในรายวิชาที่สาขาศิลปประดิษฐ์ในงานคหกรรมศาสตร์  โดยให้นักศึกษานำทรัพยากรณ์ต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ ออกแบบ แบบเป็นกระบวนการ (
PDCA ) ที่สามารถบูรณาการถ่ายทอดไปยังชุมชนต่อไป

 

 

อาจารย์กฤติน ชุมแก้ว   

ผมคิดว่าการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมนั้น
มันมีข้อดีมากๆ สิ่งสำคัญอาจารย์จะได้นำองค์ความรู้รวมถึงทักษะวิชาชีพ
และการจัดการเรียนการสอน ไปบริการวิชาการแก่สังคม อย่างเช่น
อาจารย์สอนวิชาอาหารว่าง ที่มีห้องเรียนปกติ มีนักศึกษาปกติ แต่เราเพิ่มการนำเอาองค์ความรู้ที่เรามีในห้องเรียน
นำเอาการจัดการเรียนการสอนที่มีอยู่ในห้องเรียน ออกไปสู่สังคม
ทำให้มหาวิทยาลัยและชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
อาจารย์และนักศึกษาได้ประสบการณ์จากการออกไปข้างนอก ไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน
นักศึกษาก็ได้ประสบการณ์ ได้ไปถ่ายทอด ทำให้เกิดทักษะและความชำนาญ
ส่วนชุมชนนั้นจะได้รับองค์ความรู้ต่างๆ
ที่ได้จากการถ่ายทอดของอาจารย์และนักศึกษา

 

 

เลิกประชุมเวลา     13.00 น.     


 

                                                                               (นางศิริพร
เจริญศรีวิริยะกุล)

                                                                                  ผู้จดรายงานการประชุม

 

 

                                                                               
(อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล)

                                                                                  ผู้ตรวจรายงานการประชุม


รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต)

ครั้งที่  2/2562

                                         วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12.00 น.

ณ  ห้อง Smart Classroom อาคาร 1 ชั้น 3

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายชื่อผู้มาประชุม

1.       อาจารย์โสภิดา        วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ

2.       อาจารย์วราภรณ์     บันเล็งลอย                 ตำแหน่ง  กรรมการ

3.       อาจารย์วิจิตร         สนหอม                    ตำแหน่ง  กรรมการ

4.       อาจารย์อรุณวรรณ   อรรถธรรม                 ตำแหน่ง  กรรมการ

5.       อาจารย์วราภรณ์     ตรีมงคล                    ตำแหน่ง  กรรมการ

6.       อาจารย์กฤติน        ชุมแก้ว                     ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน

7.       นางศิริพร             เจริญศรีวิริยะกุล           ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม
(เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   ไม่มี

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การกำหนดแผนการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการในชั้นเรียน
โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที
ดังนี้

 

อาจารย์วราภรณ์ บันเล็งลอย

ทุกครั้งที่มีแผนไปบริการวิชาการ
อาจารย์ผู้สอนจะดูรายวิชาที่สอดคล้องกับการบริการวิชาการแล้วระบุกิจกรรมที่จะบูรณาการลงใน
มคอ.3 หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล และจัดให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตั้งแต่การกำหนดกิจกรรม
การเขียนโครงการ การถ่ายทอดความรู้ และการประเมินผล

 

 

 

อาจารย์วิจิตร สนหอม    

การบูรณาการในชั้นเรียนอาจารย์ผู้สอน
จะกำหนดแผนการจัดการเรียนการสอนโดยการกำหนดหัวข้อการสอนเป็นสัปดาห์ต่างๆ 
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
โดยนักศึกษาจะต้องรู้ถึงเนื้อหา ข้อมูล เอกสาร ขั้นตอนการดำเนินงาน
การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การลงพื้นที่ชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้  การสรุปผล และการรายงานผล

 

 

อาจารย์กฤติน ชุมแก้ว   

การที่เรารู้ว่าเราต้องไปบริการวิชาการแก่สังคมล่วงหน้า
เราสามารถเขียนและกำหนดลงไปในมคอ. 3 เมื่อจัดทำมคอ.3
ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะในมคอ.3 เป็นตัวบ่งชี้ถึงการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์
หากเรามีการจัดการและการวางแผนที่ดี ก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

เลิกประชุมเวลา     13.00
น.     

                                                                               (นางศิริพร   เจริญศรีวิริยะกุล)

                                                                                  ผู้จดรายงานการประชุม

 

 

                                                                               (อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล)

                                                                                  ผู้ตรวจรายงานการประชุม


                                                รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้

                                                                  (ด้านการผลิตบัณฑิต)

                                           ครั้งที่  3/2562    วันจันทร์ที่       23 ธันวาคม 2562 เวลา 12.00 น.

ณ  ห้อง Smart Classroom อาคาร 1 ชั้น 3

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายชื่อผู้มาประชุม

1.       อาจารย์โสภิดา        วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ

2.       อาจารย์วราภรณ์     บันเล็งลอย                 ตำแหน่ง  กรรมการ

3.       อาจารย์วิจิตร         สนหอม                    ตำแหน่ง  กรรมการ

4.       อาจารย์อรุณวรรณ   อรรถธรรม                 ตำแหน่ง  กรรมการ

5.       อาจารย์วราภรณ์     ตรีมงคล                    ตำแหน่ง  กรรมการ

6.       อาจารย์กฤติน        ชุมแก้ว                     ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน

7.       นางศิริพร             เจริญศรีวิริยะกุล           ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม
(เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   ไม่มี

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การแสวงหาความรู้และการสร้างองค์คามรู้ในการจัดการเรียนการสอน
โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที
ดังนี้

 

อาจารย์วราภรณ์ บันเล็งลอย

เมื่อทางสาขาฯทราบแผนการบริการวิชาการ ก็กำหนดแผนการสอนให้ตรงกับช่วงเวลาและเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับงานบริการวิชานั้นๆ
และกำหนดหัวข้อการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับหัวข้อการบูรณาการ
เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ดีก่อนนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบ

 

 

 

อาจารย์วิจิตร สนหอม    

กำหนดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
โดยนักศึกษาจะต้องรู้ถึงเนื้อหา ข้อมูล เอกสาร ขั้นตอนการดำเนินงาน
การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การลงพื้นที่ชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้  การสรุปผล และการรายงานผล
  โดยการใช้สื่อจากเอกสาร
การสืบค้นข้อมูลจากเว๊ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง จากการลงพื้นที่จริงเพื่อสู่การคิด
วิเคราะห์ ออกแบบ และการทำเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการนำไปถ่ายทอดต่อไป

 

 

อาจารย์กฤติน ชุมแก้ว   

เรื่องการกำหนดแผนการสอนและสื่อที่ใช้สอนนั้น
ผมคิดว่าในยุคปัจจุบันเราจะต้องมีแผนการสอนที่ทันสมัย
มีสื่อการสอนที่ทันสมัยเช่นกัน เช่น นำนวัตกรรมสื่อการสอนมาใช้ มีการสอนแบบ
Active
Learning เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์ยุคสังคมปัจจุบัน
ทำให้ผู้เรียนมีการสนใจในการเรียนมากขึ้น
เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนแบบเดิมๆ

 

เลิกประชุมเวลา     13.00
น.     


 

                                                                               (นางศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล)

                                                                                  ผู้จดรายงานการประชุม

 

 

                                                                               (อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล)

                                                                                  ผู้ตรวจรายงานการประชุม




รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต)

ครั้งที่  4/2562

                                            วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2563 เวลา 12.00 น.

ณ  ห้อง Smart Classroom อาคาร 1 ชั้น 3

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายชื่อผู้มาประชุม

1.       อาจารย์โสภิดา        วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ

2.       อาจารย์วราภรณ์     บันเล็งลอย                 ตำแหน่ง  กรรมการ

3.       อาจารย์วิจิตร         สนหอม                    ตำแหน่ง  กรรมการ

4.       อาจารย์อรุณวรรณ   อรรถธรรม                 ตำแหน่ง  กรรมการ

5.       อาจารย์วราภรณ์     ตรีมงคล                    ตำแหน่ง  กรรมการ

6.       อาจารย์กฤติน        ชุมแก้ว                     ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน

7.       นางศิริพร             เจริญศรีวิริยะกุล           ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม
(เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   ไม่มี

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง การมีส่วนร่วมกับชุมชนและการสร้างเครือข่ายการดำเนินงาน
โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที
ดังนี้

 

อาจารย์วราภรณ์ บันเล็งลอย

ทุกครั้งที่ทราบแผนงานบริการวิชาการ
ทางสาขาฯต้องประสานงานกับชุมชนเป้าหมายเพื่อจะได้ทราบความต้องการของชุมชน  จากนั้นก็วางแผนการให้บริการวิชาการได้ตรงกับความต้องการของชุมชนนั้นๆ
โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการของชุมชน เพื่อนำมากำหนดแผนหรือทิศทางในการบริการวิชาการ
ประสานงาน และสร้างเครือข่ายร่วมกับชุมชน ประธานชุมชน ผู้นำชุมชน
เมื่อดำเนินกิจกรรมเสร็จก็จะเป็นการให้ชุมชนได้ประเมินประโยชน์หรือผลกระทบที่เกิดจากการบริการวิชาการ
แล้วนำผลการประเมินที่ได้มาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการต่อไป  

 

 

อาจารย์วิจิตร สนหอม    

การมีส่วนร่วมกับชุมชน
ซึ่งชุมชนมีความหลากหลายของกลุ่ม เช่น อายุ อาชีพ ความคิด และเวลา  เราจะต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของกลุ่มชุมชนก่อน
โดยมีการเข้าไปปฏิสัมพันธ์เพื่อหาข้อมูลความรู้ในสิ่งที่ชุมชนมีความต้องการ
มีทรัพยากรณ์อะไร มีความรู้พื้นฐานตรงตามสิ่งที่เราจะถ่ายทอดมากน้อยเพียงใด  และนำมาสู่การทำการบ้านของเราก่อนการนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอด  และในขณะเดียวกันจะต้องแนะนำหรือติดต่อประสานกับหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือชุมชนให้เกิดการพัฒนาต่อต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นที่รู้จักของสังคมต่อไป

 

 

อาจารย์กฤติน ชุมแก้ว   

เรื่องการประสานงานกับชุมชน
หรือการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นสิ่งที่ต้องมี เพราะหากเรามี
connection ที่ดีก็จะช่วยให้ทำงานได้ดี เพราะการสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งที่จำเป็น
ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์มีการทำวิจัยร่วมกันกับชุมชน เป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชน
ทำให้สร้างผลงานที่ดีออกสู่ตลาด
และมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมอีกด้วย

 

เลิกประชุมเวลา     13.00
น.     


 

                                                                               (นางศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล)

                                                                                  ผู้จดรายงานการประชุม

 

 

                                                                               (อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล)

                                                                                  ผู้ตรวจรายงานการประชุม


รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต)

ครั้งที่  5/2562

                                           วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12.00 น.

ณ  ห้อง Smart Classroom อาคาร 1 ชั้น 3

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายชื่อผู้มาประชุม

1.       อาจารย์โสภิดา        วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ

2.       อาจารย์วราภรณ์     บันเล็งลอย                 ตำแหน่ง  กรรมการ

3.       อาจารย์วิจิตร         สนหอม                    ตำแหน่ง  กรรมการ

4.       อาจารย์อรุณวรรณ   อรรถธรรม                 ตำแหน่ง  กรรมการ

5.       อาจารย์วราภรณ์     ตรีมงคล                    ตำแหน่ง  กรรมการ

6.       อาจารย์กฤติน        ชุมแก้ว                     ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน

7.       นางศิริพร             เจริญศรีวิริยะกุล           ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม
(เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   ไม่มี

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง ผลสำเร็จจากการเรียนรู้ของนักศึกษาและแนวทางการนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ
โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ 3 นาที
ดังนี้

 

อาจารย์วราภรณ์ บันเล็งลอย

ผลสำเร็จจากการเรียนรู้ของนักศึกษา นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในชุมชนนำองค์ความรู้ไปใช้จริงกับชุมชน
ทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย นักศึกษาเกิดการพัฒนาหลายด้าน
นักศึกษสามารถนำองค์ความรู้ในห้องเรียนและการออกชุมชน ไปประยุกต์เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตได้

         

 

 

อาจารย์วิจิตร สนหอม    

นักศึกษาที่เรียนรู้การเรียนการสอนแบบการบูรณาการที่หลากหลายทำให้นักศึกษารับความรู้
ที่มีความเข้าใจมากขึ้น มีการทำงานเป็นกระบวนการและขั้นตอนที่เป็นระบบ
สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

 

 

อาจารย์กฤติน ชุมแก้ว   

เมื่อนักศึกษาได้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้
หรือการบริการวิชาการแก่สังคม ทำให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ เกิดทักษะที่ดี
ได้เรียนรู้การเรียนจากสถานการณ์จริง เมื่อนักศึกษาเรียนจบไปแล้ว
อาจจะทำให้เขาสามารถกลายเป็นผู้ประกอบการเองก็ได้
เขาสามารถที่จะสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง และทำงานธุรกิจส่วนตัว สร้างอาชีพให้แก่ตนเองได้

 

เลิกประชุมเวลา     13.00
น.     


 

                                                                               (นางศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล)

                                                                                  ผู้จดรายงานการประชุม

 

 

                                                                               (อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล)

                                                                                  ผู้ตรวจรายงานการประชุม



รายงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต)

ครั้งที่  6/2562

                                           วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 เวลา 12.00 น.

ณ  ห้อง Smart Classroom อาคาร 1 ชั้น 3

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายชื่อผู้มาประชุม

1.       อาจารย์โสภิดา                  วิศาลศักดิ์กุล               ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ

2.       อาจารย์วราภรณ์               บันเล็งลอย                 ตำแหน่ง  กรรมการ

3.       ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิจิตร      สนหอม                    ตำแหน่ง  กรรมการ

4.       อาจารย์อรุณวรรณ             อรรถธรรม                 ตำแหน่ง  กรรมการ

5.       อาจารย์วราภรณ์               ตรีมงคล                    ตำแหน่ง  กรรมการ

6.       อาจารย์กฤติน                  ชุมแก้ว                     ตำแหน่ง  แหล่งความรู้ภายใน

7.       นางศิริพร                       เจริญศรีวิริยะกุล           ตำแหน่ง  กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่มาประชุม
(เนื่องจากไปราชการและติดภารกิจอื่น)

                   ไม่มี

 

เริ่มประชุมเวลา  12.00 น.

         

สรุปการประชุม

          ประธานคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) แจ้งหัวข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขคู่มือการจัดการองค์ความรู้
(ด้านการผลิตบัณฑิต) โดยให้เวลาคณะกรรมการที่เป็นแหล่งความรู้ภายในแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันคนละ
3 นาที ดังนี้

 

อาจารย์วราภรณ์ บันเล็งลอย

คู่มือนี้เป็นคู่มือที่ดีนะ
ดูใช้งานง่าย อ่านเข้าใจได้ง่ายดี
แต่น่าจะมีการใส่รูปภาพประกอบในเล่มคู่มือนิดหน่อยจะได้ทำให้คู่มือดูน่าสนใจมากขึ้น
ส่วนที่เหลือส่วนตัวก็ว่าโอเคดีแล้วค่ะ

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิจิตร สนหอม 

คู่มือเล่มนี้ดีครับ
มีเนื้อหาครบถ้วน แต่ควรมีการเพิ่มภาคผนวกสักนิดในท้ายเล่ม เช่น
ตัวอย่างแบบฟอร์มโครงการบริการวิชาการ, ตัวอย่างแบบฟอร์มโครงการศิลปวัฒนธรรม
เป็นต้น

 

อาจารย์อรุณวรรณ อรรถธรรม

ดีแล้วค่ะ มีเนื้อหาครบแต่ควรมีการตรวจสอบคำผิดอีกสักรอบก่อนเอาไปเผยแพร่เพราะตอนนี้อ่านดูก็ยังเจอคำผิดอยู่บ้าง
เดียวให้ทุกคนช่วยกันดูพวกคำผิดอีกทีนะคะ

 

อาจารย์วราภรณ์ ตรีมงคล

โอเคเลยค่ะ
อ่านง่ายคู่มือมีขนาดเล็กกระทัดรัดดี
มีเนื้อหาครบเอาไปอ่านแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายเลย
แต่ก็เห็นบางส่วนที่เนื้อหาคล้ายๆกันถ้าเอามาเขียนรวมเป็นเนื้อหาเดียวกันได้ก็จะดีเลยค่ะ

 

อาจารย์กฤติน ชุมแก้ว   

คู่มือนี้ดีนะครับ
ผมคิดว่าถ้าอาจารย์ในคณะทุกคนเอาไปใช้จริงจะดีมากเลย
แต่ขอให้ข้อเสนอแนะในส่วนของการเขียนขั้นตอนการบูรณาการถ้าจะให้อ่านกันแล้วเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นผมคิดว่าเรามาปรับการเขียนเป็นแบบ
Flowchart ก็ดีนะครับ

 

อาจารย์โสภิดา
วิศาลศักดิ์กุล

คู่มือนี้ดูโดยรวมก็เกือบสมบูรณ์
100
% แล้วนะคะ
แต่เดียวเรามาตรวจสอบคำผิดแล้วแก้ไขเนื้อหาในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วนอีกนิดหน่อย
หลังจากนี้ก็เอาไปเผยแพร่ผ่านทาง
Facebook และเว็บไซต์ของคณะก็จะทำให้อาจารย์ในคณะแล้วก็คนที่เขาสนใจได้เข้ามาศึกษาข้อมูลได้ง่ายขึ้นค่ะ

 

เลิกประชุมเวลา     13.30
น.     


 

                                                                               (นางศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล)

                                                                                  ผู้จดรายงานการประชุม

 

 

                                                                               (อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล)

                                                                                  ผู้ตรวจรายงานการประชุม